+ All Categories
Home > Documents > โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต...

โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต...

Date post: 01-Mar-2020
Category:
Upload: others
View: 4 times
Download: 0 times
Share this document with a friend
26
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจาปีงบประมาณ 2559 โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก 1 กิโลวัตต์ แบบ 4 แกน ชนิดแนวแกนตั้งเเบบไม่บิดใบที่ความเร็วลมต่โครงการ(ภาษาอังกฤษ) Micro electrical wind turbine 1 Kw with 4 axis vertical spindles at low wind speed with non twist blades ชื่อหัวหน้าโครงการผู้รับทุน/ผู้วิจัย นายวสันต์ พลาศัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พฤศจิกายน 2559
Transcript
Page 1: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

1

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจ าปีงบประมาณ 2559

โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก 1 กิโลวัตต์ แบบ 4 แกน ชนิดแนวแกนตั้งเเบบไม่บิดใบที่ความเร็วลมต่ า

โครงการ(ภาษาอังกฤษ) Micro electrical wind turbine 1 Kw with 4 axis vertical spindles at low wind speed

with non twist blades

ชื่อหัวหน้าโครงการผู้รับทุน/ผูว้ิจัย นายวสันต์ พลาศัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธวิาสราชนครนิทร์

พฤศจิกายน 2559

Page 2: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

2

รหัสโครงการ 2559A17562001

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจ าปีงบประมาณ 2559

โครงการกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก 1 กิโลวัตต์แบบ 4 แกน ชนิดแนวแกนตัง้เเบบไม่บิดใบที่ความเร็วลมต่ า

ชื่อหัวหน้าโครงการผู้รับทุน / ผู้วิจัย นายวสันต์ พลาศัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธวิาสราชนครนิทร์

สนับสนุนโดย ส านักบริหารโครงการสง่เสริมการวิจัย ในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ

ส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

Page 3: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

3

กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)

ภาษาไทย: งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนา มหาวิทยาลัย วิจัยแห่งชาติ ของสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ภาษาอังกฤษ: This work was supported by the Higher Education Research Promotion and National Research University Project of Thailand, Office of the Higher Education Commission

Page 4: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

4

บทคัดย่อ (Abstract)

ภาษาไทย งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือออกแบบสร้างกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก 1 กิโลวัตต์ แบบ 4 แกน ชนิดแนวแกนตั้งเเบบไม่บิดใบที่ความเร็วลมต่ํา รวมถึงวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกังหันลมโดยการเก็บ ข้อมูลศักยภาพความเร็วลมในพ้ืนจากเครื่องมือวัด พบว่า ความเร็วลมจะเป็นความเร็วลมต่ําน้อยกว่า 5 m/s หากความเร้วลมที่มากกว่านั้น จะมีเป็นบางช่วงเวลาที่ไม่มากนัก การนํากังหันลมขนาดใหญ่ที่มีกําลังการผลิตไฟขนาดใหญ่จึงเป็นการที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีความเร็วลมต่ํา กังหันลม แนวแกนตั้งสามารถให้ประสิทธิภาพสูงที่ความเร็วลมต่ํา รวมถึงง่ายต่อการติดตั้ง วัสดุหาได้จากในประเทศ การบํารุงรักษาที่ไม่ซับซ้อน และขั้นตอนการทํางานตามหลักพ้ืนฐานทั่วไป ซึ่งจากดําเนินงานวิจัยในขั้นแรกเริ่มจากการวัดความเร็วลมในพ้ืนที่ติดตั้งเครื่องมือวัดที่ระดับความสูง 15 เมตร ออกแบบและสร้างกังหันลมแนวแกนตั้งแบบไม่บิดใบ ติดตั้งเจนเนอร์เรเตอร์ ขนาด 250 วัตต์ จํานวน 4 แกน ทดสอบและปรับขนาดของใบ ความยาวและความสูงโดยเป็นใบแบบไม่บิดใบตลอดแนวแกน จากผลการวิจัยศึกษาเพ่ือให้เป็นการส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมแนวแกนตั้งที่ความเร็วลมต่ํา จากการวิจัย พบว่า ศักยภาพความเร็วลมในพ้ืนที่จังหวัดนราธิวาส เป็นความเร็วลมต่ํา การออกแบบกังหันลมแนวแกนตั้งแบบไม่บิดใบตลอดท้ังแกน โดยต่อกับเจนเนอเรเตอร์ที่แต่ละแกนขนาด 250 วัตต์ จํานวน 4 แกน กําลังการผลิตที่ได้มีความแน่นอนอย่างสูง เนื่องจากขนาดของเจนเนอเรเตอร์มีขนาดใหญ่กําลังลมไม่เพียงที่จะทําให้หมุนได้อย่างต่อเนื่อง การแก้ไขต่อไป สามารถปรับเบื้องต้นได้ คือ การปรับลดขนาดเจนเนอเรเตอร์ให้ลดลง หรือการปรับขนาดของใบพัดให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะสามารถผลิตกําลัง ไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องที่ความเร็วลมต่ํา ภาษาอังกฤษ The purpose of this research is to design and produce 1 kW four-coil wind turbine with non-twisted vertical axial type at low wind speed including analyzing the efficiency of wind turbines by collecting the potential speed data from measuring instruments. The results shown wind speed was less than 5 m/s. and higher at sometimes but not really often. So, the large-scale wind turbines with large capacity are unsuitable for areas with low wind speeds. The vertical axis wind turbine can provide high efficiency at low wind speeds. Also easy to install, materials are available in the country, uncomplicated to maintenance and easy accessible. The initial work started with the measurement of wind speed at the installation area at a height of 15 meters, design and construction of a vertical axis wind turbine then install a 250-watt generator with 4 cores, test and adjust the size of the blade. The

Page 5: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

5

length and height of blades are not twisted blades along the axis. The results shows the economical energy are generated by the vertical axis wind turbine at low winds. This study found that wind speed potential in Narathiwat province is low wind speed. The design of wind turbine without spiral axis throughout the axis and connected to the generators 250-watt cores at each axis (4 axials). Due to the size of the generator is large, the wind power is not be able to rotate continuously. Then, the improvement of the efficiency is to reduce the generator size or increase the blade size, for the result to produce the constantly electricity at low wind speed.

Page 6: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

6

สารบัญเร่ือง (Table of Contents)

เรื่อง หน้า บทน า 1 วัตถุประสงค์ 5 วิธีดําเนินการวิจัย 6 ผลการวิจัย 8 บทนํา 8 เก็บรวบรวมความเร็วลมในพ้ืนที่ 8 ออกแบบและสร้างกังหันลมแนวแกนตั้งทีละแกนและทดสอบต่อกับเจนเนอเรเตอร์ 9 ติดตั้งกันหัน 4 แกนพร้อมเจนเนอเรเตอร์ 10 สรุป 12 ผลผลิต 13 ผลงานวิชาการ 13 บรรณานุกรม 16 ภาคผนวก 17 ประวัติคณะผู้วิจัย 18

Page 7: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

7

สารบัญตาราง (List of tables)

เรื่อง หน้า ตารางที่ 1 รายละเอียดกังหันลมแนวแกนตั้งแบบไม่บิดใบ 11

Page 8: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

8

สารบัญภาพ (List of Illustrations)

เรื่อง หน้า รูปที่ 1 ระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยจัดสร้างกังหันลมขนาดจิ๋ว 1 กิโลวัตต์ 1 รูปที่ 2 แผนที่ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย 2 รูปที่ 3 การสะสมพลังงานจะเห็นว่าเป็นการสะสมพลังงาน 3 รูปที่ 4 ชนิดของใบกังหันลมต่างๆ 3 รูปที่ 5 การออกแบบกังหันลมภาพด้านข้าง 4 รูปที่ 6 การออกแบบกังหันลมภาพด้านหน้า 5 รูปที่ 7 การออกแบบกังหันลมภาพด้านบน 5 รูปที่ 8 การรวบรวมความเร็วลมจังหวัดนราธิวาส 8 รูปที่ 9 ศักยภาพความเร็วลม 8 รูปที่ 10 การติดตั้ง 9 รูปที่ 11 การวัดความเร็วรอบสอดคล้องกับความเร็วลม 9 รูปที่ 12 กังหันลมแนวแกนต้ัง (ด้านหน้า) 10 รูปที่ 13 กังหันลมแนวแกนตั้ง (ด้านหลัง) 10 รูปที่ 14 ความเร็วลมสอดคล้องกับความเร็วรอบ 11 รูปที่ 15 โฟสเตอร์ประชุมวิชาการ 13 รูปที่ 16 เอกสารประกอบการบรรยาย 14 รูปที่ 17 ภาพประชาชน นักศึกษาผู้มาร่วมงาน 14

Page 9: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

1

บทน า (Introduction)

“วิกฤตพลังงาน” เป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่คนไทยทุกคนต้องตระหนักถึง โดยประเทศไทยนํา เข้าพลังงานทุกชนิดจากต่างประเทศมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มที่จะเพ่ิมสูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้เองคนไทยจึงต้องตระหนักถึงการใช้พลังงานอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ ประกอบกับหาแหล่งกําเนิดพลังงานทางเลือกใหม่หรือพลังงานทดแทนในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พลังงานลมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีมลพิษและไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ซึ่งโดยทั่วไปถูกนําไปใช้งานในสองรูปแบบ คือ ระบบสูบน้ําและระบบผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมสําหรับประเทศไทยนั้นยังมีข้อจํากัดในเรื่องของความเร็วของกระแสลมที่มีความเร็วต่ําและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นผลทําให้ต้องนําเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงและไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากประเทศผู้ผลิตได้ออกแบบตามลักษณะลมของภูมิภาคนั้นๆ ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย จากปัญหาดังกล่าว โครงการนี้ได้นําเสนอ กังหันลมขนาดจิ๋ว 1 กิโลวัตต์ ชนิดแนวแกนตั้ง โดยใช้ความเร็วลมต่ํา การออกแบบจะแยกใบบัดแนวแกนตั้งออกเป็น 4 แกน โดยแต่ละแกนจะผลิตไฟฟ้าได้ 250 วัตต์ และนําไฟฟ้าที่ได้ต่อแบบขนาน เมื่อนํามารวมกันจะได้ 1 กิโลวัตต์ แสดงการออกแบบดังรูปที่ 2, รูปที่ 3, รูปที่ 4 ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์ท่ีหาได้ภายในประเทศ โดยมีหลักการทํางาน คือ เมื่อมีลมพัดมาปะทะกับใบพัดของกังหันลมจะทําหน้าที่เปลี่ยนพลังงานลมที่อยู่ในรูปของพลังงานจลน์ไปเป็นพลังงานกล โดยการหมุนของใบพัดแรงจากการหมุนของใบพัดนี้จะถูกส่งผ่านแกนหมุนทําให้เพลาที่ติดอยู่กับแกนหมุนเกิดการหมุนตามไปด้วย พลังงานกลที่ได้จากการหมุนของเพลานี่เองที่ถูกประยุกต์ใช้ ประโยชน์ตามความต้องการเช่น ในกรณีที่ต้องการใช้กงหันลมเพ่ือการผลิตไฟฟ้าก็จะต้องต่อเครื่องกําเนิดไฟฟ้าเข้าไป ซึ่งเมื่อกังหันลมหมุนจะไปขับเคลื่อนให้แกนหมุนของเครื่องกําเนิดไฟฟ้าหมุนตามไปด้วยกําเนิดไฟฟ้าก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาได้ แสดงระบบฯ ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 ระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยจัดสร้างกังหันลมขนาดจิ๋ว 1 กิโลวัตต์

Page 10: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

2

สําหรับศักยภาพพลังงานลมในประเทศไทย จากรายงานการศึกษาของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พบว่าแหล่งศักยภาพพลังงานลมที่ดีของประเทศไทย มีศักยภาพกําลังลมเฉลี่ยทั้งปีอยู่ประมาณระดับ 1-5 (Wind Power Classes 1-5) ซึ่งเท่ากับค่าความเร็วลมประมาณ 0-6.4 เมตร/วินาที โดยบริเวณที่พบค่าความเร็วสูงสุดโดยมากอยู่บริเวณภาคใต้บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก นอกจากนี้ยังมีการสํารวจพ้ืนที่ที่มีศักยภาพกําลังลมเพียงพอต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น บริเวณยอดเขาหรือเทือกเขาต่างๆ เป็นต้น

รูปที่ 2 แสดงแผนที่ศักยภาพพลังงานลมของประเทศไทย (ท่ีมา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2546)

Page 11: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

3

รูปที่ 3 แสดงการสะสมพลังงานจะเห็นว่าเป็นการสะสมพลังงานอย่างหนึ่งโดยการสะสมในรูปของ

การเก็บน้ าซึ่งเป็นการน าพลังงานลมความเร็วต่ ามาใช้โดยตรงกังหันรูปแบบนี้จึงเหมาะสม ส าหรับความเร็วลมต่ าของประเทศไทย

รูปที่ 4 แสดงชนิดของใบกังหันลมต่างๆ (ท่ีมา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, 2546)

Page 12: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

4

จากรูป แสดงชนิดของใบกังหันลมแบบต่างๆ จะบอกถึงความเหมาะสมในการเลือกชนิดของใบกังหันให้เหมาะสมกับความเร็วของลมซึ่งส่วนใหญ่ที่เห็นผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันลมขนาดเล็กในประเทศไทย ทั่วไปจะใช้ชนิด 3 ใบพัดใบพัดชนิดนี้จะเริ่มหมุนที่ความเร็วลม 3.8-4 เมตรต่อวินาที จากคุณสมบัติข้อนี้จะทําให้โอกาสการพัฒนากังหันลมขนาดเล็กแนวแกนตั้งแบบไม่บิดใบมีเพ่ิมมากขึ้น ประกอบกับคุณสมบัติอีกข้อหนึ่ง ก็คือ ใบพัดชนิดนี้จะให้แรงบิดที่เพลาส่งกําลังต่ําทําให้ยากท่ีจะทําการทดรอบให้มีความเร็วรอบที่สูงขึ้นได้ เพราะถ้าทดรอบน้อยรอบก็จะไม่พอถ้าทดรอบมากใบพัดก็จะเริ่มออกตัวช้าไปอีกหรือไม่ หมุนเลย นี่คือ ปัญหาที่สําคัญทีท่ีมวิจัยจะได้นํามาออกแบบและพัฒนากังหันลมผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทยให้มีศักยภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้มากที่สุดตามความเร็วลมที่มีอยู่ จากปัญหาข้างต้นทีมวิจัยจะเลือกใช้ใบพัดกังหันลมแบบแกนตั้ง เพราะเป็นใบพัดที่เริ่มหมุนที่ความเร็วลมต่ํา คือประมาณ 0.8-1 เมตรตอ่วินาที และจะทําการหาขนาดและจํานวนใบที่เหมาะสม เพ่ือให้รับกําลังลมได้มาก ซึ่งทําให้มีแรงบิดที่เพลาส่งกําลังได้มากข้ึน ดังนั้น ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานลมกังหันลมขนาดเล็ก 1 กิโลวัตต์ จึงเป็นระบบต้นแบบและเป็นทางเลือกหนึ่งของเทคโนโลยีที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทย ในการใช้พลังงานทดแทน อีกยังสามารถนําไปประยุกต์ใช้กับแหล่งกําเนิดพลังงานทดแทนในรูปแบบอ่ืน เช่น น้ํา แสงอาทิตย์ และชีวะมวล เป็นต้น แบบแสดงกังหันลมแนวแกนตั้ง

รูปที่ 5 แสดงการออกแบบกังหันลมภาพด้านข้าง

Page 13: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

5

รปูท่ี 6 แสดงการออกแบบกังหันลมภาพด้านหน้า

รูปที่ 7 แสดงการออกแบบกังหันลมภาพด้านบน

วัตถุประสงค์ (Objective) 1. เพ่ือออกแบบกังหันลมแนวแกนตั้งแบบไม่บิดใบ จํานวน 4 แกน ที่เหมาะสมสําหรับความเร็ว ลมต่ํา 2. หาประสิทธิภาพของเครื่องบดเปลือกหอยสําหรับชุมชน 3. เพ่ือสร้างต้นแบบกังหันลมผลติไฟฟ้าแนวแกนตั้งขนาดเล็ก 1 กิโลวัตต ์ที่เหมาะสมกับความเรว็ ลมต่ํา 4. เพ่ือศึกษาและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของกังหันลมสําหรับความเร็วลมต่ํา

Page 14: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

6

วิธีด าเนินการวิจัย (Materials and Methods) การดําเนินการทดลอง ณ พ้ืนที่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์และนําไปใช้ทดลองชุมชนบ้านโคกเคียน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ก่อตั้งโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่าง ตามประราชดําริ จะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ทําการค้นคว้างานวิจัยการออกแบบกังหันลมขนาดเล็กแนวแกนตั้งสําหรับผลิตไฟฟ้า จากวารสารและเอกสาร ทั้งภายในและต่างประเทศ 2. วิเคราะห์และออกแบบกังหันลมแนวแกนตั้ง 4 แกน 3. วิเคราะห์และออกแบบเจนเนอเรเตอร์ 250 วัตต์ สําหรับติดตั้ง 4 แกนด้านล่าง 4. วิเคราะห์และออกแบบจุดเสียหายกรณีรับลมกระชาก 5. ออกแบบกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 1 กิโลวัตต์ โดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่หาได้ภายใน ประเทศ 6. สร้างแบบจําลองกังหันลมแนวแกนตั้ง แบบไม่บิดใบ 4 แกน ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก่อนสร้างกังหันลมขนาดจริง เพ่ือทราบแรงบิด กําลังงาน ประสิทธิภาพที่เหมาะสมความเร็วลม 7. สร้างกังหันแนวแกนตั้งที่เหมาะสมกับความเร็วในพ้ืนที่ได้จากแบบจําลองด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 8. สร้างฐานเจนเนอเรเตอร์สําหรับแกนจากกังหันลม 9. ดําเนินการทดสอบทั้งระบบกังหันลมผลิตไฟฟ้า 10. หากพบข้อบกพร่อง ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขจุดที่บกพร่องให้เสรจ็สมบูรณ ์ 11. ทําการทดลองเก็บผลการทดลองในรูปแบบงานวิจัย 12. วิเคราะห์จากข้อมูลการทดลอง 13. สรุปผลการดําเนินการและแนวทางพัฒนาต่อไปในอนาคต

Page 15: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

7

แผนการด าเนินงานตลอดโครงการวิจัย :

แผนการด าเนนิงาน ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. รวบรวมข้อมูล

ทําการวิเคราะห์ข้อมูลและโครงการ ที่เกี่ยวข้อง

การออกแบบกังหันลมแนวแกนตั้งแบบไม่บิดใบ

การสร้างกังหันลมพร้อมติดตั้งที่ทําการทดสอบ

ติดตั้งและทดสอบระบบผลิตไฟฟ้าเข้ากับชุดกังหันลม

วิเคราะห์ข้อมูลจากการทดสอบและปรับปรุงแก้ไข

สรุปและอภิปรายผลโครงการ

7

Page 16: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

8

ผลการวิจัย (Results)

1. เก็บรวบรวมความเร็วลมในพื้นที่

รูปที่ 8 แสดงการรวบรวมความเร็วลมจังหวัดนราธิวาส

รูปที ่9 แสดงศักยภาพความเร็วลม

Page 17: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

9

2. ออกแบบและสร้างกังหันลมแนวแกนตั้งทีละแกนและทดสอบต่อกับเจนเนอเรเตอร์

รูปที ่10 แสดงการติดตั้ง

รูปที ่11 แสดงการวัดความเร็วรอบสอดคล้องกับความเร็วลม

Page 18: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

10

3. ติดตั้งกันหัน 4 แกน พร้อมเจนเนอเรเตอร์

รูปที ่ 12 กังหันลมแนวแกนตั้ง (ด้านหน้า)

รูปที ่ 13 กังหันลมแนวแกนตั้ง (ด้านหลัง)

Page 19: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

11

คุณสมบัติ หมายเหตุ กําลังการผลิต 1.0 kW แกนละ 250 W รวม 4 แกน

ขนาดเจนเนอเรเตอร์ 1.4 เมตร/ชุด ความยาวใบกังหันลม 1.2 เมตร

น้ําหนัก 35 กิโลกรัม ลักษณะใบ แบบไม่บิดใบ

ความเร็วลมเริ่มต้นในการผลิต 3.5 m/s ความเร็วลมสูงสุดในการผลิต 7 m/s มากกว่าโครงสร้างฐานราก

รับไม่ไหว ความเร็วรอบสูงสุด 150 คุณสมบัติเจนเนอเรเตอร์

จํานวนใบ 16 ใบ แกนละ 4 ใบ รวม 4 แกน อินเวอร์เตอร์ 1kW

ตารางท่ี 1 แสดงรายละเอียดกังหันลมแนวแกนตั้งแบบไม่บิดใบ

รูปที ่ 14 แสดงความเร็วลมสอดคล้องกับความเร็วรอบ

Page 20: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

12

สรุป (Summary)

สรุปผลการทดลอง 1. ความเร็วลมในพื้นที่เมื่อวิเคราะห์จะมีความเร็วลมต่ําค่าเฉลี่ยอยู่ท่ี 2-3 m/s (รูปที่ 8) 2. ความเร็วลมต่ําให้รอบที่เหมาะสมสําหรับผลิตไฟฟ้าในแต่ละแกนขนาด 250W ยังไม่เพียงพอ 3. หากปรับเปลี่ยนขนาดกําลังการผลิตของเจนเนอเรเตอร์ที่ให้กําลังน้อยกว่าสามารถให้ประสิทธิภาพเพ่ิมข้ึนได ้

Page 21: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

13

ผลผลิต (Output)

ผลงานวิชาการ 1. การประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 วันที่ 2-4 มีนาคม 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

รูปที่ 15 แสดงโฟสเตอร์ประชุมวิชาการ

Page 22: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

14

2. โครงการส่งเสริมการจัดการความรู้และใช้ประโยชน์จากงานวิจัย นวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 16 มีนาคม 2560

รูปที่ 16 แสดงเอกสารประกอบการบรรยาย

รูปที่ 17 แสดงภาพประชาชน นักศึกษาผู้มาร่วมงาน

Page 23: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

15

รายงานสรุปการเงิน ประจ าปีงบประมาณ 2559 รหสัโครงการ (NRMS 13 หลัก) 2559A17562001

โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ชื่อ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ชื่อโครงการ กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก 1 กิโลวัตต์แบบ 4 แกน ชนิดแนวแกนตั้งเเบบไม่บิดใบ ที่ความเร็วลมต่ํา ชื่อหัวหน้าโครงการวิจัย อ.วสันต์ พลาศัย ระยะเวลาด าเนินการ จํานวน 1 ปี 5 เดือน

รายจ่าย

หมวด งบประมาณรวมท้ังโครงการ

(บาท) ค่าใช้จ่ายงวดปัจจุบัน

(บาท) คงเหลือ

(หรือเกิน) (บาท) 1. ค่าตอบแทน - - 0 2. ค่าจ้าง - - - 3. ค่าวัสด ุ 82,500 82,500 0 4. ค่าใช้สอย 67,500 67,500 0 5. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

(โปรดระบุเป็นข้อย่อย) - - -

รวม 150,000 150,000 0

จ านวนงบประมาณที่ได้รับ - งวดที่ 1 จํานวน 40,500 บาท เมื่อ มีนาคม 2559 - งวดที่ 2 จํานวน 109,500 บาท เมื่อ มีนาคม 2560 รวม 150,000 บาท ……………………………………………………….. ……………………………………………………….. ลงนามหัวหน้าโครงการวิจัยผู้รับทุน ลงนามเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ วันที่……………………………………………………….. วันที…่…………………………………………………

Page 24: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

16

บรรณานุกรม (Bibliography)

1. เสริมศักดิ์ ทิพย์วงศ์. กังหันลมผลิตไฟฟ้าสําหรับการส่องสว่างภายนอกอาคาร , ระบบฐานข้อมูล. งานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, 2556. 2. รักษ์ จันทร์บาง, สุทธิ ตั้งแสวงพรกุล. ผลิตไฟฟ้าจากลมระบายความร้อนของคอมเพรสเซอร์. คณะ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูพา, 2554.

Page 25: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

17

ภาคผนวก (Appendix)

Page 26: โครงการ (ภาษาไทย) กังหันลมผลิต ...rms.pnu.ac.th/rdbms/fulltext/061117_165146f.pdf · 2017-11-06 · โครงการ (ภาษาไทย)

18

ประวัติคณะผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย (หัวหน้าโครงการ) 1. ชื่อ (ภาษาไทย) นายวสันต์ พลาศัย (ภาษาอังกฤษ) Mr. Wasan Palasai 2. บัตรประจําตัว 3 9699 00 18973 2 3. ตําแหน่งปัจจุบัน อาจารย์ 4. หน่วยงานที่สังกัด สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมยานยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ โทรศัพท์ 073 709030 ต่อ 3200 โทรสาร 073 709030 ต่อ 3203 Email: [email protected] 5. ประวัติการศึกษา

ปีท่ีจบ ระดับปริญญา (ตรี โท เอก)

อักษรย่อ ปริญญา

สาขา ชื่อสถาบันการศึกษา

2549 อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต

อสบ. เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลศรีวิชัย

2551 คุรศุาสตรมหาบัณฑิต คอม. เครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

6. สาขาวิชาการท่ีมีความชํานาญพิเศษ - เครื่องยนต์สันดาปภายใน - การออกแบบเครื่องจักรกล 7. ประสบการณ์ท่ีเกี่ยวข้อง ผลงานวิจัย บทความทางวิชาการ และสิ่งตีพิมพ์ - Design of Multi-blade Wind Turbines for Compressed Air Energy Storage Systems by Using CFD, GMSARN Int. Conf. on Sustainable Development and Climate Change: Challenges and Opportunity in GMS 17-19 Nov. 2010 - Effect of number of Grid and Grid Quality for Design Multi-blades Wind Turbine For Compressed Air Energy Storage Systems by CFD, 2013 International Conference on Alternative Energy in Developing Countries and Emerging Economies


Recommended