+ All Categories
Home > Documents > ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม...

ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม...

Date post: 27-Feb-2020
Category:
Upload: others
View: 0 times
Download: 0 times
Share this document with a friend
70
Transcript
Page 1: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา
Page 2: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ค ำน ำ

หนังสือรวบรวมองค์ความรู้ เรื่อง “เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร”ี เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์จากเอกสารต่างๆ ของส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา รวมไปถึงเอกสารต ารา ตลอดจนเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อจัดท า เป็นหนังสือ รวบรวมองค์ความรู้ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์และห้องเรียนออนไลน์ ในรูปแบบของหนังสือเล่มเล็ก

ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเรื่อง “เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร”ี จะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านและศึกษาค้นคว้า สามารถน าไปประยุกต์ใช้ ในส่วนงานที่เกี่ยวข้อง หรือเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบงานอื่นๆ ต่อไป

นางสุจิตรา ยอดเสน่หา นักวิชาการศึกษา ช านาญการ

Page 3: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ประกำศคุณูปกำร

หนังสือเล่มนี้ส าเร็จลุล่วงด้วยดี เป็นเพราะการอนุเคราะห์อย่างสูงจากเพื่อนร่วมงานในส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณอัญชัญ เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา ศรีแสงอ่อน คุณสาริณี จ่างเจริญ คุณกิตติ วิลัยหล้า ที่ร่วมกันให้ข้อมูลและรวบรวมเอกสารทางราชการที่เกี่ยวข้อง ขอบคุณ คุณปิยนุช เจียงแจ่มจิต และคุณสุภาวดี เรียงขันธ์ ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดรูปเล่ม ขอบคุณ คุณธัญญาลักษณ์ แซ่โง้ว และคุณกชกร ดาราพาณิชย์ ในการตรวจพิสูจน์อักษร ขอบคุณ คุณภาสุรี ยอดเสน่หา ผู้ออกแบบปกหนังสือ และขอบคุณ คุณบังเอิญ ดีบุก ผู้ประสานงานการเผยแพร่และจัดส่งเอกสาร

กราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ที ่ประสิทธิ ์ประสาทวิชาความรู้ กราบขอบพระคุณ รศ.ดร.อรุณี อินทรไพโรจน์ ผู้สร้างแรงบันดาลใจและแรงผลักดันในการศึกษาพัฒนาตนเอง ขอบคุณ อาจารย์พงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา ผู้บังคับบัญชา ที่มีความเป็นกันเองและให้โอกาสในการสร้างสรรค์งานต่างๆ อย่างอิสระ ขอบคุณ คุณเตือนใจ สุตตาชัย ผู้ให้ค าปรึกษาในการสร้างผลงาน ขอบคุณครอบครัวที่เป็นก าลังใจและให้การสนับสนุนเสมอมา

คุณค่าและประโยชน์ใดๆ ที่เป็นผลมาจากหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนขอมอบแด่บุพการีและครูบาอาจารย์ทุกท่านที่อบรมสั่งสอน ด้วยความเคารพยิ่ง

นางสุจิตรา ยอดเสน่หา

นักวิชาการศึกษา ช านาญการ

Page 4: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

สำรบัญ บัญชีเรื่อง หน้ำ

ก้ำวแรกของห้องเรียนออนไลน์ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี 1

บทเรียนเกี่ยวกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 4

บทเรียนจากการส่งอาจารย์ไปอบรม 4

บทเรียนจากการซื้อสื่ออิเล็กทรอนิกส์ส าเร็จรูป 5

บทเรียนจากการจ้างพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 5

สื่อกำรเรียนกำรสอนผ่ำนเว็บ 7

อินเทอร์เน็ตกับสื่อการเรียนการสอน 7

องค์ประกอบของห้องเรียนผ่านเว็บ 9

ประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บ 10

การออกแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ 12

การประเมินผลการเรียนการสอนผ่านเว็บ 13

การเรียนการสอนผ่านเว็บของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 14

ปัญหาที่พบจากการน าสื่อเผยแพร่ผ่านเว็บ 16

ปัญหาลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ 16

ปัญหาสื่อมีความล้าสมัย 16

ห้องเรียนออนไลน์มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี 18

Moodle 21

องค์ประกอบของ Moodle 22

สถิติการใช้ห้องเรียนออนไลน์ 25

สรุปผลการสอบถามผู้ใช้งานห้องเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี 27 ราชมงคลธัญบุรี 27

Page 5: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

สำรบัญ (ต่อ) บัญชีเรื่อง หน้ำ

กลยุทธ์กำรพัฒนำห้องเรียนออนไลน์มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี 31

วิธีการชักชวน 31

วิธีการบอกต่อ 32

วิธีการจัดฝึกอบรม 33

วิธีการมอบรางวัล 33

วิธีการก าหนดเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 38

วิธีการใช้เป็นเงื่อนไขในการปรับต าแหน่ง 38

สื่อดิจิทัลกับกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 40

ความหมายของสื่อดิจิทัล 40

ลักษณะขอสื่อดิจิทัล 40

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 43

ก้ำวต่อไปของห้องเรียนออนไลน์มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี 51

นิยามศัพท์ 53

การเรียนรู้รูปแบบ u-Leaning 56

ผลกระทบของ u-Learning 57

เอกสำรและสิ่งอ้ำงอิง 60

ประวัติผู้เขียน 64

Page 6: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 1

ของห้องเรียนออนไลน์

มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุร ี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แรกเริ่มคือ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษามีภารกิจหลักคือ ผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี ให้การศึกษาทางด้านอาชีพ ทั้งระดับต่ ากว่าปริญญาตรีและประกาศนียบัตรชั้นสูง ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” ในวันที่ 15 กันยายน 2531 แต่ด้วยนโยบายการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มุ่งเน้นการกระจายอ านาจ การบริหารจัดการ สู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐด าเนินการโดยอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การก ากับดูแลของสถาบัน ดังนั้น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมและ ยกร่าง เป็นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีการรวมวิทยาเขตจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จ านวน 9 แห่ง หนึ่งในนั้นก็คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งประกอบด้วย พื้นที่ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และวิทยาเขตปทุมธานี อ าเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี (www.rmutt.ac.th, 2557)

Page 7: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 2 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

การจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ คือสามารถท างานได้ทันทีที่ส าเร็จการศึกษา นอกจากวิธีการสอนที่เน้นในเชิงปฏิบัติแล้ว สื่อการสอนที่ใช้ในมหาวิทยาลัย ก็เป็นสิ่งส าคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ให้ความส าคัญกับสื่อการสอน นอกจากจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนการสอนด าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว สื่อการสอนยังสามารถท าให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถน าไปประยุกต์ใช้งานได้จริงในอนาคต

การเรียนการสอนในยุคดั้งเดิม ซึ่งครูจะเป็นบุคคลส าคัญในการส่งมอบความรู้ เทคนิควิธีการสอน จะเป็นสื่อที่ส าคัญ สื่อแบบดั้งเดิม อาจจะเป็น รูปภาพ แผนภูมิ แผ่นใส สไลด์ แบบจ าลอง หรือสื่อของจริง ที่สามารถน ามาใช้ในห้องเรียนได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เริ่มเข้ามามีบทบาท จากเดิมจะมีแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมีขนาดใหญ่ ใช้งาน ในระบบต่างๆ ซึ่งเป็นงานเฉพาะด้านเท่านั้น เช่น งานทะเบียนนักศึกษา ระบบงานฐานข้อมูล การเข้ามาของคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะในเวลานั้น เสมือนเป็นนวัตกรรม ซึ่งอยู่ในระยะของการแพร่นวัตกรรม ซึ่งใครๆ ก็สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ ท าให้เข้าสู่ยุคของการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอย่างแท้จริง

สื่อการเรียนการสอนก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีการใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะกันอย่างแพร่หลาย จึงมีการสร้างสื่อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถสร้างสื่อเพื่อการเรียนการสอนที่นิยมใช้ ณ เวลานั้น คือ โปรแกรมไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ (Microsoft Power Point) ซึ่งเริ่มมีอาจารย์น าเข้ามาใช้แทนการใช้สื่อการสอนที่เป็นแผ่นใส นับเป็นยุคของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในระยะเริ่มต้น หน่วยงาน

Page 8: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 3

การศึกษาเริ่มตื่นตัวกับการใช้คอมพิวเตอร์ และน าคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งจะเน้นไปในลักษณะของการสร้างสื่อเพื่อน าเสนอในห้องเรียนเท่านั้น

ต่อมาได้มีการน าโปรแกรมต่างๆ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยเฉพาะมาใช้ เช่น Tool book , Author ware และโปรแกรมอื่นๆ กล่าวได้ว่าเป็นการเข้าสู่ยุคของสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างแท้จริง และมีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์กันอย่างแพร่หลาย โดยมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์วางขายเป็นจ านวนมากในท้องตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับเด็กเล็ก เนื่องจากสามารถกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ทั่วไปคือ สื่อวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และสื่อประเภทเกมส์ส าหรับเด็ก

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นหน่วยงานการศึกษา ที่เล็งเห็นคุณค่าของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อน ามาใช้สนับสนุนการเรียนการสอน โดยส่งเสริมให้อาจารย์สร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการส่งอาจารย์ไปอบรมโปรแกรมสร้างสื่อต่างๆ เพื่อให้อาจารย์มีความรู้และสามารถน ากลับมาประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอนได้ แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถท าได้ ด้วยเหตุผลบางประการ อาจจะเป็นด้วยภาระงานด้านการสอน ความขัดข้อง ในด้านซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ และจ านวนอาจารย์ที่ส่งไปอบรมนั้นเป็นส่วนน้อย ท าให้มหาวิทยาลัยไม่ประสบความส าเร็จในด้านการส่งอาจารย์ไปอบรมเพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนเท่าที่ควร หากแต่สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความจ าเป็นมาก ทางเลือกใหม่ของมหาวิทยาลัย เพื่อให้มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ใช้ในการเรียนการสอน ก็คือการซื้อสื่ออิเล็กทรอนิกส์ส าเร็จรูป และการจ้างพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร,ี 2550)

Page 9: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 4 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

บทเรียนเกี่ยวกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ทุ่มเม็ดเงินจ านวนมหาศาล เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นการส่งอาจารย์ไปอบรมเพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอน การซื้อสื่ออิเล็กทรอนิกส์ส าเร็จรูป หรือแม้แต่การจ้างพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์

บทเรียนจำกกำรส่งอำจำรย์ไปอบรม

มหาวิทยาลัย ได้มีแผนในการพัฒนาอาจารย์ในแต่ละปี จะมีส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้อาจารย์เข้าอบรมการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่ละปีจะมีอาจารย์เพียงจ านวนหนึ่ง ที่ได้รับการอบรม เนื่องจากข้อจ ากัดในด้านงบประมาณ และอาจารย์ที่ถูกส่งไปอบรมจะมีข้อก าหนดคือจะต้องเป็นอาจารย์ที่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ค่อนข้างดี และจากประสบการณ์ที่เคยจัดฝึกอบรมหลักสูตร การสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะพบว่าส่วนใหญ่อาจารย์ที่เข้าอบรมจะเป็นอาจารย์คนเดิมที่เคยมาอบรมแล้ว (ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2552)

ผลการติดตามการฝึกอบรมอาจารย์ที่เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนมากน าไปใช้งานค่อนข้างน้อยเนื่องจากมีภารกิจด้านการสอน โปรแกรมส่วนใหญ่ที่อาจารย์ใช้ในด้านการสร้างสื่อการเรียนการสอนจะเป็นเพียงโปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ ซึ่งเป็นโปรแกรมขั้นพื้นฐานในการสร้างสื่อการเรียนการสอน (ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2552)

จากข้อมูลดังกล่าวที่อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ ในการสร้างสื่อการเรียนการสอน จึงท าให้โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ได้รับการพิจารณาเป็นล าดับต้นๆ และถูกใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อน าไปพัฒนากระบวนการ สร้างสื่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยต่อไป

Page 10: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 5

บทเรียนจำกกำรซื้อสื่ออิเล็กทรอนิกสส์ ำเร็จรูป

จากความต้องการสื่อการเรียนการสอน ซึ่งบางคณะมีความจ าเป็นมากและยังขาดแคลน มหาวิทยาลัยจึงจัดหาสื่อการเรียนการสอนให้กับคณะ ที่ต้องการ ด้วยจ านวนเงินไม่น้อย แต่เนื่องจากสื่อการเรียนการสอนส าเร็จรูป ที่จัดหามาได้นั้น เป็นภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ และจ ากัดด้วยจ านวนผู้ใช้ ในเวลาพร้อมกัน (Users Concurrent) อีกทั้งติดตั้งไว้ในห้องปฎิบัติการแบบเฉพาะท าให้ไม่สามารถใช้สื่อร่วมกันได้

ด้วยเหตุนี้สื่อการเรียนการสอนโดยวิธีการจัดหาด้วยการซื้อสื่ออิเล็กทรอนกิส์ส าเร็จรูป จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหา ที่มหาวิทยาลัย ต้องน ามาพิจารณา และน าไปสู่วิธีการจ้างพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเวลาต่อมา

บทเรียนจำกกำรจ้ำงพัฒนำสื่ออิเล็กทรอนิกส ์

จากข้อมูลปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการได้มาซึ่งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทางเลือกที่มหาวิทยาลัยเลือกใช้คือการจ้างพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีกระบวนการดังนี้

1. ส ารวจความต้องการการใช้สื่อในวิชาต่างๆ 2. ศึกษาความต้องการรูปแบบสื่อการสอนทีต่้องการใช้งาน 3. น าอาจารย์เจ้าของวิชาที่มีความต้องการ มาให้ข้อมูลกับผู้พัฒนา 4. ผู้พัฒนาพฒันาตามความต้องการของอาจารย ์5. สื่อที่พัฒนาได้อยู่ในรูปแผ่นซีด ีส่งไปเผยแพร่ยังหน่วยงานภายในของ

มหาวิทยาลัย

ผลลัพธ์ที่ได้จากการจ้างพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากจ านวนรายวิชาที่พัฒนามีจ านวนมาก ความต้องการของอาจารย์แตกต่างกัน การออกแบบพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทที่รับพัฒนาจะจัดท าลักษณะรูปแบบที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน (Template) ซึ่งไม่ตรงกับความต้องการของอาจารย์บางรายวิชา

Page 11: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 6 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

และเมื่อเกิดปัญหาในการแก้ไขเนื้อหามักมีความล่าช้า เพราะความเข้าใจ ไม่ตรงกัน รูปภาพประกอบสื่อต่างๆ มีความสุ่มเสี่ยงเรื่องของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาบางส่วนของรายวิชา หรือแม้แต่ส่วนอื่นๆ ที่อาจารย์ต้องการแก้ไขท าได้ยาก เนื่องจากระยะเวลาจ ากัด และต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

จากบทเรียนในการจ้างพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สรุปได้ว่า ความต้องการที่แตกต่าง การแก้ไขเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์เป็นสิ่งจ าเป็น ดังนั้นข้อควรพิจารณาในด้านการพัฒนาสื่ออิ เล็กทรอนิกส์ จ าเป็นต้องเน้นย้ า ในสิ่งเหล่านี้ด้วย

จากบทเรียนทั้งสามบทเรียนที่ผ่านมา เป็นบทเรียนจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของสื่อออฟไลน์ ซึ่งต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นตัวช่วยในการเปิดและต้องใช้แผ่นซีดี ที่บรรจุสื่ออิเล็กทรอนิกส์ควบคู่กันไปด้วย หรือแม้กระทั่งการจัดเก็บสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไว้ใน Hard disk ของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ตาม หากอาจารย์ไม่มีคอมพิวเตอร์โน้ตบุคเป็นของตนเองด้วยแล้ว จะยิ่งท าให้เกิดความรู้สึกไม่สะดวกในการใช้ เนื่องจากท าให้ไม่สามารถใช้สื่อได้อย่างคล่องตัว และบางครั้งต้องเสียเวลา ในกรณีที่แผ่นซีดมีีปัญหา

มีค าถามที่ น่ าสงสัยว่า แล้ วสื่ อการเรียนการสอนอิ เล็กทรอนิกส์ ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ควรจะเป็นอย่างไร และท าอย่างไร ที่จะสามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

ค าถามนี้น่าสนใจ อีกทั้งในขณะนั้นเป็นยุคของอินเทอร์ เน็ตก าลังเข้ามา มีบทบาท ถึงแม้ความเร็วของระบบเครือข่าย ยังไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการได้มากนัก แต่ก็พอแก้ปัญหาได้ส าหรับการน าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีอยู่มาน าเสนอในรูปแบบออนไลน์

Page 12: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 7

กำรเรียนกำรสอนผ่ำนเว็บ

อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการศึกษาของประเทศไทย ในปี 2538 ในรูปแบบของ เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web หรือ www.) จนกลายเป็นแหล่งความรู้ไร้พรมแดน ซึ่งผู้สอนได้ใช้เป็นทางเลือกใหม่ในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเปิดประตูการศึกษาจากห้องเรียนไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้อันกว้างใหญ่ รวมทั้งเป็นการน าการศึกษาไปสู่ผู้ที่ขาดโอกาสด้วยข้อจ ากัดทางด้านเวลาและสถานที่ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2544) อินเทอร์เน็ต ในระยะแรกความเร็วยังไม่มากนัก และจะเป็นการเชื่อมต่อ ผ่านโมเด็ม (Modem) เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการแสดงผล ที่สามารถท าได้รวดเร็วจะอยู่ในรูปของตัวอักษร (Text) หรือรูปภาพ (Graphic) ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ด้วยข้อจ ากัดในด้านความเร็วของระบบอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตกับสื่อกำรเรียนกำรสอน

จากคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้แบบไม่จ ากัด จึงน าเอาคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต มาออกแบบเพื่อใช้ในการศึกษา การจัดการเรียน การสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) มีชื่อเรียกหลายลักษณะ เช่น การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) เว็บการเรียน (Web-Based Learning) เว็บฝึกอบรม (Web-Based Training) อินเทอร์เน็ตฝ ึกอบรม ( Internet-Based Training) อ ิน เทอร ์เน ็ตช ่วยสอน ( Internet-Based Instruction) เวิลด์ไวด์เว็บฝึกอบรม (WWW-Based Training) และเวิลด์ไวด์เว็บช่วยสอน (WWW-Based Instruction) (สรรรัชต์ ห่อไพศาล, 2545)

Page 13: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 8 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

แต่โดยทั่วไปเราจะรู้จักกันในนาม การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction) ซึ่งมีนักวิชาการของไทยได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

ใจทิพย์ ณ สงขลา (2542) ได้ให้ความหมายการเรียนการสอนผ่านเว็บว่าหมายถึง การผนวก คุณสมบัติไฮเปอร์มีเดียเข้ากับคุณสมบัติของเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจ ากัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน (Learning without Boundary)

กิดานันท์ มลิทอง (2543) ให้ความหมายว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บเป็นการใช้เว็บในการเรียนการสอนโดยอาจใช้เว็บเพื่อน าเสนอบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติของวิชาทั้งหมดตามหลักสูตร หรือใช้เพียงการเสนอข้อมูลบางอย่างเพื่อประกอบการสอนก็ได้ รวมทั้งใช้ประโยชน์จากคุณลักษณะต่างๆ ของการสื่อสารที่มีอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การเขียนโต้ตอบกันทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และการพูดคุยสดด้วยข้อความและเสียงมาใช้ประกอบด้วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ถนอมพร เลาจรัสแสง (2544) ให้ความหมายว่า การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) เป็นการผสมผสานกันระหว่างเทคโนโลยีปัจจุบันกับกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรู้และแก้ปัญหาในเรื่องข้อจ ากัดทางด้านสถานที่และเวลา โดยการสอนบนเว็บจะประยุกต์ใช้คุณสมบัติและทรัพยากรของเวิลด์ ไวด์ เว็บ ในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนที่จัดขึ้นผ่านเว็บนี้อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดของกระบวนการเรียนการสอนก็ได้

จะเห็นได้ว่า การเรียนการสอนผ่านเว็บ จะเป็นการเรียนรู้โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือร่วมกับการออกแบบการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ซึ่งอาจจะใช้การเรียนการสอนผ่านเว็บทั้งระบบ หรืออาจจะใช้บางส่วนก็ได้

Page 14: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 9

องค์ประกอบของห้องเรียนผ่ำนเว็บ

องค์ประกอบของการสอนผ่านเว็บ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1. ความเป็นระบบ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1.1. ส่วนน าเข้า (Input) ประกอบด้วย ผู้เรียน ผู้สอน วัตถุประสงค์ของการเรียน ฐานความรู้ การสื่อสารหรือกิจกรรม การวัดและประเมินผล

1.2. ส่วนกระบวนการ (Process) เป็นการสร้างสถานการณ์หรือการจัดสภาวะการเรียนการสอน โดยใช้ส่วนน าเข้าในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.3. ส่วนผลลัพธ์ (Output) คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้จากการวัดและประเมินผล

2. ความเป็นเงื่อนไข เป็นการออกแบบระบบที่ผู้พัฒนาบทเรียนผ่านเว็บต้องกระท าในลักษณะของการวาง เงื่อนไข เช่น ถ้าหากเรียนจบบทเรียนแล้วจะต้องท าแบบทดสอบเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อท าข้อสอบผ่านเกณฑ์ในระดับดี อาจจะมีการให้รางวัล และหากได้คะแนนน้อย ต้องเรียนซ้ าใหม่ เป็นต้น

3. การสื่อสารหรือกิจกรรม ในการออกแบบบทเรียนผ่านเว็บ ผู้ออกแบบ ต้องมีกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดปฏิสัมพันธ์เพื่อน าไปสู่เป้าหมายแห่งการเรียนรู้ เช่น การใช้บริการ Web Chat, Web board, Search เพื่อให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารตอบข้อสงสัย ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับผู้สอนได้

4. Learning Root เป็นการก าหนดแหล่งความรู้ภายนอกที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน โดยมีเงื่อนไข เช่น แหล่งความรู้ภายนอก ที่มีความยากเป็นล าดับ หรือเกี่ยวข้องกับหัวข้อการเรียนเป็นล าดับ การก าหนด Learning Root โดยใช้เทคนิค Frame จะช่วยให้ผู้เรียนไม่เกิดภาวะหลงทาง

Page 15: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 10 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ประเภทของกำรเรียนกำรสอนผ่ำนเว็บ

Parson (1997 อ้างถึงใน วรางคณา หอมจันทร์, 2542) ได้แบ่งประเภทของการเรียนการสอนผ่านเว็บออกเป็น 3 ลักษณะคือ

1. เว็บช่วยสอนแบบรายวิชาอย่างเดียว (Stand-Alone Courses) เป็นรายวิชาที่มี เครื่องมือและแหล่งที่ เข้าไปถึงและเข้าหาได้ โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ถ้าไม่มีการสื่อสารก็สามารถที่จะไปผ่านระบบคอมพิวเตอร์สื่อสารได้ ลักษณะของเว็บช่วยสอนแบบนี้มีลักษณะเป็นแบบวิทยาเขตมีนักศึกษาจ านวนมากที่เข้ามาใช้จริงแต่จะมีการส่งข้อมูลจากรายวิชาทางไกล

2. เว็บช่วยสอนแบบเว็บสนับสนุนรายวิชา (Web Supported Courses) เป็นรายวิชาที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมที่มีการพบปะระหว่างครูกับนักเรียน มีการก าหนดงานที่ ให้ท าบนเว็บ การก าหนดให้อ่ าน การสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์

3. เว็บช่วยสอนแบบศูนย์การศึกษา (Web Pedagogical Resources) เป็นชนิดของเว็บไซต์ที่มีวัตถุดิบเครื่องมือ ซึ่งสามารถรวบรวมรายวิชาขนาดใหญ่เข้าไว้ด้วยกันหรือเป็นแหล่งสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา ซึ่งผู้ที่เข้ามาใช้ก็จะมีสื่อให้บริการในรูปแบบต่างๆ ช่น ข้อความ ภาพกราฟิก การสื่อสารระหว่างบุคคล และการท าภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

สอดคล้องกับ กิดานันท์ มลิทอง (2548) กล่าวว่า การสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถใช้ได้กับการสอนทุกวิชา โดยอาจเป็นการใช้เว็บเพื่อการสอนวิชานั้นทั้งหมด หรือใช้เพื่อประกอบเนื้อหาวิชาก็ได้ สามารถแบ่งการสอน บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ 3 รูปแบบ ดังนี ้

1. วิชาเอกเทศ (Stand–Alone Course or Web–Based Course) เป็นวิชาที่เนื้อหาและทรัพยากรทั้งหมดมีการน าเสนอบนเว็บ รวมถึงการสื่อสารกัน เกือบทั้งหมด ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจะผ่านทางคอมพิวเตอร์ การใช้รูปแบบนี้

Page 16: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 11

สามารถใช้ได้กับวิชาที่ผู้เรียนนั่งเรียนอยู่ในสถาบันการศึกษาและส่วนมากแล้วจะใช้ในการศึกษาทางไกล โดยผู้เรียนจะลงทะเบียนเรียนและมีการโต้ตอบกับผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ ผ่านทางการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต ด้วยวิธีการนี้ จะท าให้ผู้เรียนในทุกส่วนของโลกสามารถเรียนร่วมกันได้โดยไม่มีขีดจ ากัดในเรื่องของสถานที่และเวลา ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยอทาบาสคา (Athabasca University) จัดให้มีวิชาเอกเทศหลายวิชาเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการสอนทางไกลในระดับปริญญามหาบัณฑิต และมหาวิทยาลัยแห่งโอคลาโฮมากลาง (University of Central Oklahoma) จัดให้มีชั้นเรียนโดยการใช้เว็บในลักษณะการศึกษาทางไกลเรียกว่า “ชั้นเรียนไซเบอร์” (Cyber Classes)

2. วิชาใช้ เว็บเสริม (Web Supported Course) เป็นการที่ผู้สอนและผู้เรียนจะพบกับในสถาบันการศึกษา แต่ทรัพยากรหลายๆ อย่าง เช่น การอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนและข้อมูลเสริมจะอ่านจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยที่ผู้สอนก าหนดมาให้หรือผู้เรียนหาเพิ่มเติม ส่วนการท างานที่สั่ง การท ากิจกรรม และการติดต่อสื่อสาร จะท ากันบนเว็บเช่นกัน ตัวอย่างเช่น วิชาการสื่อสารในองค์กรของมหาวิทยาลัยแห่งเท็กซัส–แพนอเมริกัน (University of Texas–Pan American) เป็นต้น

3. ทรัพยากรการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Web Pedagogical Resources) เป็นการน าเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิชานั้น หรือใช้เป็นกิจกรรมการเรียนของวิชา ทรัพยากรเหล่านี้ จะหลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อความ ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง การติดต่อระหว่างผู้เรียนกับเว็บไซต์ ฯลฯ โดยจะดูได้จากเว็บไซต์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น Blue Web’n Application Library แ ล ะ Canada’s SchoolNet ส า ห รั บ ผู้ เรี ย น ชั้นประถมและมัธยม เว็บรวมแหล่งวิชาการ จะรวบรวมแหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต

Page 17: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 12 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ที่สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการได้ อาจอยู่ในรูปของตัวอักษร กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

จะเห็นได้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเลือกใช้ ว่าเหมาะสมในแบบใด แล้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีใช้งานอยู่หรือไม่ และในรูปแบบใด

กำรออกแบบกำรเรียนกำรสอนผ่ำนเว็บ

ปทีป เมธาคุณวุฒิ (2540) กล่าวว่า การออกแบบโครงสร้างของการเรียนการสอนผ่านเว็บควรจะประกอบด้วย

1. ข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชา ภาพรวมรายวิชา (Course Overview) แสดงวัตถุประสงค์ของรายวิชา สังเขปรายวิชาค าอธิบาย เกี่ยวกับหัวข้อการเรียน หรือหน่วยการเรียน

2. การเตรียมตัวของผู้เรียนหรือการปรับพื้นฐานผู้เรียน เพื่อที่จะเตรียมตัวเรียน 3. เนื้อหาบทเรียน พร้อมทั้ งการเชื่อมโยงไปยังสื่อสนับสนุนต่างๆ

ในเนื้อหาบทเรียนนั้นๆ 4. กิจกรรมที่มอบหมายให้ท าพร้อมทั้งการประเมินผล การก าหนดเวลาเรียน

การส่งงาน 5. แบบฝึกหัดที่ผู้เรียนต้องการฝกึฝนตนเอง 6. การเชื่อมโยงไปแหลง่ทรัพยากรที่สนับสนุนการศึกษาค้นคว้า 7. ตัวอย่างแบบทดสอบ ตัวอย่างรายงาน 8. ข้อมูลทั่วไป (Vital Information) แสดงข้อความที่จะติดต่อผู้สอนหรือผู้

ที่เกี่ยวข้อง การลงทะเบียนค่าใช้จ่าย การได้รับหน่วยกิตและการเชื่อมโยงไปยังสถานศึกษาหรือหน่วยงานและมีการเชื่อมโยงไปสู่รายละเอียดของหน้าที่เกี่ยวข้อง

9. ส่วนแสดงประวัติของผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

Page 18: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 13

10. ส่วนของการประกาศข่าว (Bulletin Board) 11. ห้องสนทนา (Chat Room) ที่เป็นการสนทนาในกลุ่มผู้เรียนและผู้สอน

จากที่กล่าวมา การเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการจัดการอย่างจงใจและน าเสนอข้อมูลที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยเฉพาะ ดังนั้นการออกแบบเว็บช่วยสอนจึงต้องพิจารณาให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และการจัดระเบียบของเนื้อหาในบทเรียนที่สร้างขึ้น เพื่อช่วยให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปอย่างมีระบบ

กำรประเมินผลกำรเรียนกำรสอนผ่ำนเว็บ

Soward (1997) ได้กล่าวถึงการประเมินการเรียนการสอนผ่านเว็บว่า จะต้องอยู่บนฐานที่ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง โดยให้นึกถึงเสมอว่าเว็บไซต์ควรเน้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ได้สะดวกไม่ประสบปัญหาในเรื่องของการเข้าถึงเนื้อหารายวิชาที่ต้องการประเมิน โดยใช้หลักการประเมิน ดังนี้

1. การประเมินวัตถุประสงค์ (Purpose) จะต้องก าหนดวัตถุประสงค์ว่า เพื่ออะไร เพื่อใคร และกลุ่มเป้าหมายคือใคร

2. การประเมินลักษณะ (Identification) ควรจะทราบได้ทันทีเมื่อเปิดเว็บไซต์เข้าไปว่าเกี่ยวข้องกับ เรื่องใด ซึ่งในหน้าแรก (Homepage) จะท าหน้าที่เป็นปกในของหนังสือ (Title) ที่บอกลักษณะและรายละเอียดของเว็บนั้น

3. การประเมินภารกิจ (Authority) ในหน้าแรกของเว็บจะต้องบอกขนาดของเว็บและรายละเอียดของโครงสร้างของเว็บ เช่น แสดงที่อยู่และเส้นทางภายในเว็บ และชื่อผู้ออกแบบเว็บ

4. การประเมินการจัดรูปแบบและการออกแบบ (Layout and Design) ผู้ออกแบบควรจะ ประยุกต์แนวคิดตามมุมมองของผู้ใช้ ความซับซ้อน เวลา รูปแบบที่เป็นที่ต้องการของผู้ใช้

Page 19: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 14 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

5. การประเมินการเชื่อมโยง (Links) การเชื่อมโยงถือเป็นหัวใจของเว็บ การเพิ่มจ านวนเชื่อมโยงโดยไม่จ าเป็นจะไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ควรใช้เครื่องมือสืบค้นแทนการเชื่อมโยงที่ไม่จ าเป็น

6. การประเมินเนื้อหา (Content) เนื้อหาที่เป็นข้อความ ภาพ หรือเสียง จะต้องเหมาะสมกับเว็บและให้ความส าคัญกับองค์ประกอบทุกส่วนเท่าเทียมกัน

ปรัชญนันท์ นิลสุข (2543) กล่าวว่าจะต้องมีการประเมินผลแบบทั่วไป ที่เป็นการประเมินระหว่างเรียน (Formative Evaluation) กับการประเมินรวมหลังเรียน (Summative Evaluation) เป็นวิธีการประเมินผลส าหรับการเรียนการสอน โดยการประเมินระหว่างเรียนสามารถท าได้ตลอดเวลา ระหว่างมีการเรียน การสอน เพื่อดูผลสะท้อนของผู้เรียนและดูผลที่คาดหวังไว้ อันจะน าไปปรับปรุงการสอนอย่างต่อเนื่องขณะที่การประเมินหลังเรียนมักจะใช้การตัดสินในตอนท้ายของการเรียนโดยการใช้แบบทดสอบเพื่อวัดผลตามจุดประสงค์ของรายวิชา

จะเห็นได้ว่าหลักของการประเมินจะต้องมีการก าหนดวัตถุประสงค์ และวิธีการประเมิน เพื่ อน าผลย้อนกลับไปปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

กำรเรียนกำรสอนผ่ำนเว็บของมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีเล็งเห็นความส าคัญของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน โดยในระยะเริ่มแรกได้ท าการน าสื่ออิเล็กทรอนิกสิ์ ที่มีอยู่ทั้งหมดในรูปของแผ่นซีดี มารวบรวมไว้เป็นหมวดและรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเข้าถึงได้ก่อนในเบื้องต้น โดยน าวิชาต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมด มากกว่า 200 วิชา น าเสนอผ่านเว็บไซต์ เพื่อมุ่งหวังให้เป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บและค้นคว้าให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนการสอนบนเว็บของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Page 20: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 15

ภาพที่ 1 เว็บไซต์รวบรวมสื่อการเรียนการสอน ที่มา: งานพัฒนาสื่อการเรียนรู ้ (2553)

ภาพที่ 2 รายละเอียดสื่อการเรียนการสอน ที่มา: งานพัฒนาสื่อการเรียนรู ้ (2553)

Page 21: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 16 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

จากเว็บไซต์ดังกล่าวข้างต้น จะเป็นการจัดหมวดหมู่ และสามารถเข้าถึงได้ แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้สนใจเข้ามาเรียนจริงหรือไม่ หรือแค่เพียงเปิดเข้ามา แล้วผ่านออกไป ท าให้เกิดความต้องการใหม่ และเกิดค าถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครเข้ามาดูสื่อมากน้อยเพียงไร ถึงแม้ว่าจะมีการประเมินการใช้งานของผู้ใช้ก็ตาม แต่หากไม่ได้มีการประเมินเราจะทราบได้อย่างไร

จากค าถามและข้อสงสัยต่างๆ ท าให้ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องหาค าตอบและหาเครื่องมือมาตอบค าถามเหล่านี้ให้ได้

ปัญหำที่พบจำกกำรน ำสื่อเผยแพร่ผ่ำนเว็บ

ปัญหำลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร ์

จากการน าเสนอสื่อผ่านเว็บ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ พบปัญหาในการด าเนินการคือ สื่อบางวิชาไม่สามารถน าเผยแพร่ได้ เพราะกระบวนการในการผลิตสื่อมีการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ถ้าไม่เปิดด้วยโปรแกรมนั้นก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ หากเราไม่ท าการต่อสัญญาลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร ์ จากประสบการณ์ดังกล่าว ท าให้ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องเพิ่มข้อพึงระมัดระวังเพิ่มขึ้นในเรื่องของซอฟต์แวร์หลักที่เป็นแหล่งตั้งต้นของสื่อการเรียนการสอน และจากการส ารวจอาจารย์ถึงการใช้โปรแกรมในการสร้างสื่อการสอน พบว่า โปรแกรมเพาเวอร์พอยต์ เป็นค าตอบ ที่อาจารย์นิยมใช้กันมากที่สุด

ปัญหำส่ือมีควำมล้ำสมัย

เมื่อมีการน าสื่อบริการผ่านเว็บ อาจารย์จ านวนไม่น้อยที่เห็นว่าสื่อการเรียนการสอนของตนเองล้าสมัย ไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี จะขอแก้ไขสื่อดังกล่าว แต่ในความเป็นจริงสื่อที่ท าส าเร็จและมีการจัดเก็บแล้ว หากไม่มีต้นฉบับเนื้อหาที่แยกเป็นส่วนๆ แล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากสื่อที่น าเสนอ

Page 22: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 17

ผ่านเว็บนั้น หมดสัญญารับประกันกับผู้รับจ้างแล้ว หากต้องการแก้ไขต้องมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ความต้องการในการปรับปรุงสื่อของอาจารย์ผู้สอนเป็นสิ่งส าคัญ หากแต่อาจารย์สามารถท าได้เองจะท าให้สะดวกมากยิ่งขึ้นและตรงกับความต้องการของอาจารย์ ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะผู้รับผิดชอบและสนับสนุนภารกิจด้านสื่อการเรียนการสอน จะต้องเสาะหาเครื่องมือ หรือระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการและสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่ผ่านมาได ้

จากโจทย์ความต้องการของอาจารย์ ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสื่อ และระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่จะมาตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับองค์ประกอบของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ดังนั้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ควรจะต้องจัดหาระบบการเรียน การสอนผ่านเว็บเพื่อตอบสนองความต้องการของอาจารย์เหล่านั้น

ค าถาม เราจะเริ่มจากตรงไหนก่อน เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาที่ผ่านมาให้ได้ สอดคล้องกับเทคโนโลยีในยุคนั้น ก าลังพัฒนาอย่างรวดเร็วอินเทอร์เน็ตมีความเร็วเพิ่มมากขึ้น สามารถรองรับไฟล์มัลติมีเดียที่มีขนาดเหมาะสมกับการน าเสนอผ่านเว็บได้ ด้วยเหตุนี้ เราลองมาค้นหาดูว่า มีซอฟต์แวร์ หรือระบบใดบ้างที่จะสามารถตอบสนองความต้องการการเรียนการสอนผ่านเว็บ แบบประหยัดงบประมาณมากที่สุด แล้วเราก็ค้นพบ ....

Page 23: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 18 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

Page 24: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 19

ออนไลน์

มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุร ี

ห้องเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการด้านสื่อการสอนและการน าเสนอผ่านเว็บ ในช่วงแรกๆ มหาวิทยาลัย ได้จัดซื้อซอฟต์แวร์บริหารจัดการห้องเรียนซึ่งบริษัทเอกชนเป็นผู้พัฒนา สามารถใช้ได้ทั้งงานประชาสัมพันธ์ในรูปแบบของเว็บไซต์ และการเผยแพร่สื่อการสอน

ภาพที่ 3 ระบบการจัดการเรียนการสอนที่จัดซื้อจากเอกชน ที่มา : รายงานการเข้าใชร้ะบบบริหารจัดการเรยีนการสอน (2551)

Page 25: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 20 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ภาพที่ 4 ระบบการจัดการเรียนการสอนที่จัดซื้อจากเอกชน ที่มา : รายงานการเข้าใชร้ะบบบริหารจัดการเรยีนการสอน (2551)

จากภาพที่ 4 จะเห็นได้ว่า ระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยมีอยู่ ณ เวลานั้น ไม่สามารถให้รายละเอียดอะไรได้มากมาย นอกจากจ านวน ผู้เข้าถึง และไม่สามารถบอกได้ว่าใคร เข้ามาในระบบเพื่อมาศึกษา หรือแค่เปิดมาดู ระยะเวลานานเท่าไร ซึ่งยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของอาจารย์ผู้สอน หากต้องการเพิ่มเติมก็จะต้องจ่ายเงินอีกจ านวนหนึ่งเพื่อพัฒนาต่อยอด ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะผู้จัดหาและดูแลระบบ มองเห็นปัญหาเหล่านี้ ว่าความต้องการมักไม่มีที่สิ้นสุด ท าอย่างไรให้อาจารย์เหล่านั้นสามารถสร้างเนื้อหาได้ด้วยตนเอง แก้ไขได้เอง และสามารถปรับเปลี่ยนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเอง ดังนั้น หากเราจ้างพัฒนาต่อไป เราคงหางบประมาณมาสนับสนุนได้แต่คงไม่ตลอดไป แล้ววงจรเดิมๆ ก็จะวนกลับมาค าถามแบบเดิม ความต้องการเหมือนเดิม ที่เราไม่สามารถตอบสนองได้

Page 26: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 21

การสืบเสาะค้นหาซอฟต์แวร์ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของอาจารย์ จึงเกิดขึ้น ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านระบบ และการค้นหาข้อมูล มีบุคลากรที่ถูกส่งไปอบรมภายนอกที่เกี่ยวข้องกับงาน และมีบุคลากรที่ ได้รับการสนับสนุนให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น การออกไปสู่โลกภายนอกของบุคลากร ท าให้ได้ไปรู้จักซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Moodle ทีมงานของเรารู้สึกตื่นเต้น ด้วยความอยากรู้อยากลองของทีมงาน เราจึงทดลองศึกษาอย่างไม่รอช้า มาท าความรู้จักซอฟต์แวร์ Moodle กัน

Moodle

มู เดิ้ ล ห รื อ Moodle ม าจ าก (Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment) เป็นฟรีซอฟต์แวร์ ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในเรื่องของลิขสิทธิ์ จัดอยู่ในประเภท Open Source Software หรือซอฟต์แวร์ระบบเปิด พัฒนาโดย Mr. Martin Dougiamas ชาวออสเตรเลีย เพื่อประกอบการท าวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก ส่วนระบบภาษาไทย พัฒนาโดยคุณ วิมลลักษณ์ สิงหนาท เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้ (กิตติ พุ่มพวง และ อรรคเดช โสสองชั้น, 2547)

Page 27: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 22 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

องค์ประกอบของ Moodle

Moodle เป็นซอฟต์แวร์ที่ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ 1. Course Management System หรือ CMS เป็นส่วนที่ใช้ในการสร้าง

เนื้อหา โดยผู้สอนสามารถสร้างและจัดการเนื้อหา เตรียมเอกสาร สื่อมัลติมีเดีย แบบฝึกหัดตามแผนการจัดการเรียนรู้

2. Learning Management System หรือ LMS เป็นส่วนที่ ใช้ในการบริหารจัดการเรียนการสอน โดยผู้ เรียนเข้าเรียนรู้ตามล าดับ ตามช่วงเวลา ตามเงื่อนไขที่ผู้สอนจัดเตรียมอย่างเป็นระบบ และประเมินผลการเรียนรู้ ของผู้เรียน พร้อมแสดงผลการตัดเกรดอัตโนมัต ิ

Moodle ต้องใช้ร่วมกัน Open Source Software ตัวอื่นๆ ได้แก่ php และ MySQL จะเห็นได้ว่าหากจะมีค่าใช้จ่าย ก็จะเกิดขึ้นในเรื่องของฮาร์ดแวร์เท่านั้น ซึ่ งประกอบด้วย คอมพิวเตอร์เซอร์ฟเวอร์ และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่จ าเป็นต่อการบริการจัดการ

จากคุณสมบัติของ Moodle จะเห็นได้ว่าสามารถตอบโจทย์ที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัยเทคโนโนโลยีราชมงคลธัญบุรีได้ กระนั้น ทีมงานต้องรีบด าเนินการเพื่อจะแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งในด้านการขาดแคลนสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ปัญหาสื่อ ที่ล้าสมัย และปัญหาลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เริ่มท าการติดตั้ง Moodle เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2552 โดยใช้ที่อยู่ของเว็บไซต์คือ www.moodle.rmutt.ac.th โดยให้ชื ่อการแสดงผลเป็นภาษาอังกฤษว่า RMUTT Online Classroom เป็นการเริ่มทดสอบระบบการเรียนการสอนซึ่งได้รับความนิยมในวงการการศึกษา ณ เวลานั้น และได้ท าการศึกษาระบบเพื่อน ามาขยายผล ให้กับอาจารย์เพื่อใช้เป็นช่องทางในการเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้

Page 28: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 23

ผ่านห้องเรียนออนไลน์ ในเบื้องต้น ได้ท าการทดลองใช้ในส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานสนับสนุนส่งเสริมด้านการเรียนการสอน และเป็นผู้จัดหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสนับสนุนการเรียนการสอนให้กับมหาวิทยาลัย ในระยะแรกได้ท าการสร้าง หมวดหมู่ และสร้างตัวอย่างรายวิช าต้นแบบ เพื่อน าเสนอผ่านห้องเรียนออนไลน์ ในลักษณะของการเผยแพร่ความรู้ต่างๆ และได้มีการชักชวนอาจารย์ซึ่งมีความรู้ในด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์และอิน เทอร์ เน็ต ที่ ค่อนข้างดี อีกทั้ งมี ใจรักในการเผยแพร่ความรู้ผ่ านสื่ ออิเล็กทรอนิกส์ ในรูปเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น Power Point , Word , Excel , PDF และไฟล์ภาพต่างๆ ตลอดจนภาพเคลื่อนไหวที่มีขนาดไฟล์ไม่ใหญ่มากนัก

ภาพที่ 5 ประเภทของไฟล์ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้กับห้องเรียนออนไลน์

ในระยะเริ่มแรกมีอาจารย์เข้าร่วมสร้างรายวิชา และเผยแพร่ผ่านห้องเรียนออนไลน์ ประมาณ 10 คน และได้ขยายกลุ่มเป้าหมายโดยใช้วิธีการบอกต่อจากอาจารย์ที่เข้าร่วมในระยะแรก ด้วยวิธีการแนะน าการใช้ห้องเรียนออนไลน์

Page 29: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 24 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ภาพที่ 6 หน้าเว็บห้องเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในระยะแรก ที่มา: รายงานแผนกผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (2553)

ภาพที่ 7 การแสดงผลรายวิชา และผู้เข้าระบบห้องเรียนออนไลน์ ในระยะแรก ที่มา: รายงานแผนกผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (2553)

Page 30: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 25

ในระยะตอ่มา มีการปรับปรุงหน้าเว็บให้มคีวามสวยงามมากยิ่งขึ้น เพื่อกระตุ้นการเข้าใช้ระบบห้องเรยีนออนไลน์ โดยมีรายละเอียดการจัดหมวดหมู่ที่เป็นระเบียบ และมีการเพิ่มในส่วนของกจิกรรม และสถิติต่างๆ

ภาพที่ 8 หน้าเว็บห้องเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในระยะปรับปรุง ที่มา: รายงานแผนกผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (2554)

จากภาพ จะเห็นได้ว่าห้องเรียนออนไลน์ได้พัฒนารูปแบบการแสดงผลเปลี่ยนไปอย่างมาก รวมไปถึงจ านวนผู้เข้าใช้งานก็เริ่มเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

สถิติกำรใช้ห้องเรียนออนไลน์

ฝ่ายผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้ท าการรวบรวมข้อมูลสถิติผู้ใช้งาน และสถิติรายวิชาในห้องเรียนออนไลน์ โดยเริ่มเก็บสถิติเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557

Page 31: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 26 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ตารางที่ 1 จ านวนผู้เข้าใช้งานห้องเรียนออนไลน์ (31 ธันวาคม 2557)

ที่มา: รายงานแผนกผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (2557)

ตารางที่ 2 จ านวนรายวิชาในหอ้งเรียนออนไลน์ (31 ธันวาคม 2557)

ที่มา: รายงานแผนกผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (2557)

จากตารางที่ 1 และ ตารางที่ 2 พบว่า ปัจจุบันห้องเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก มีรายวิชาที่เผยแพร่ผ่านห้องเรียนออนไลน์ 1,054 วิชา และมีผู้ใช้งานมากว่า 26,000 คน โดยมีผู้ที่ใช้งานต่อเนื่องปีละไม่น้อยกว่า 10,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557)

พ.ศ. ม.ค. ก.พ. ม.ีค. เม.ย. พ.ค. ม.ิย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.2554 n/a n/a n/a n/a n/a 9,002 10,325 10,883 11,179 11,244 11,257 12,116 2555 12,705 13,139 13,375 13,529 13,647 16,091 16,957 17,157 17,637 17,783 18,879 19,782 2556 20,028 20,137 20,348 20,698 20,838 23,600 24,639 25,027 25,657 25,902 27,053 28,608 2557 28,687 28,795 29,160 29,351 29,056 28,866 25,309 24,706 26,549 26,968 26,488 26,277

พ.ศ. ม.ค. ก.พ. ม.ีค. เม.ย. พ.ค. ม.ิย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.2554 n/a n/a n/a n/a n/a 441 492 519 525 538 538 547 2555 552 559 562 569 648 674 681 683 687 740 799 806 2556 809 815 807 808 883 821 833 861 881 881 937 947 2557 951 953 954 965 968 970 966 1,015 1,025 1,036 1,036 1,054

Page 32: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 27

ภาพที่ 9 หน้าเว็บห้องเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่า กว่าห้องเรียนออนไลน์จะประสบความส าเร็จ และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้อย่างต่อเนื่องนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 5 ปี ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้วิธีการอย่างไร ในการจูงใจอาจารย์ให้เข้ามาสร้างเนื้อหารายวิชา ในห้องเรียนออนไลน์ และนักศึกษา เขามีความคิดเห็นอย่างไรกับการใช้งานห้องเรียนออนไลน์ ค าถามเหล่านี้ต้องมีค าตอบ

สรุปผลกำรสอบถำมผู้ใช้งำนห้องเรียนออนไลน์มหำวิทยำลัยเทคโนโลยี รำชมงคลธัญบุรี

จากการสอบถามผ่านหน้าเว็บไซต์ห้องเรียนออนไลน์ในปีการศึกษา 2556 มีผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ เป็นนักศึกษาจากคณะต่างๆ จ านวน 53 คน รายละเอียด ดังนี ้

Page 33: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 28 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ตารางที่ 3 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ข้อมูลทั่วไป จ านวน ร้อยละ

เพศ

ชาย 22 41.51

หญิง 31 58.49

ชั้นปีการศึกษา

ชั้นปีที่ 1 11 33.96

ชั้นปีที่ 2 7 26.42

ชั้นปีที่ 3 6 13.21

ชั้นปีที่ 4 2 5.66

ไม่ระบุช้ันปี 5 20.75

คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ 2 3.77

คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน 3 5.66

คณะบริหารธุรกิจ 14 26.42

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย ี 4 7.55

คณะวิศวกรรมศาสตร์ 27 50.94

คณะศิลปกรรมศาสตร ์ 1 1.89

คณะศิลปศาสตร ์ 1 1.89

วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย 1 1.89

จากตารางที่ 3 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์มากที่สุด รองลงมาคณะบริหารธุรกิจ ส่วนใหญ่ศึกษาในระดับช้ันปีที่ 1

Page 34: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 29

ประเด็นการเข้าใช้งานห้องเรียนออนไลน ์นักศึกษาให้ข้อมูลดงันี้

ตารางที่ 4 ความถี่ในการเข้าใช้งาน

ข้อมูลควำมถี่ในกำรเข้ำใช้งำน จ ำนวน ร้อยละ

อินเทอร์เน็ตทั่วไปต่อสัปดาห์

น้อยกว่า 7 ชั่วโมง 19 35.85

7-14 ชั่วโมง 20 37.74

15- 21 ชั่วโมง 6 11.32

มากกว่า 21 ชัว่โมง 8 15.09

ห้องเรียนออนไลน์

น้อยกว่า 1 ครั้งต่อเดือน 3 5.66

2 -3 ครั้งต่อเดือน 16 30.19

สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง 28 52.83

ทุกวัน 6 11.32

จากตารางที่ 4 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณ 7-14 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ รองลงมาคือน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนการใช้ห้องเรียนออนไลน์มีความถี่อยู่ที่ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

ประเด็นความพึงพอใจต่อ ห้องเรียนออนไลน์ นักศึกษาประเมินตามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2537)

ค่าเฉลี่ย 4.51 – 5.00 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.51 – 4.50 หมายถึง ความพึงพอใจระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.51 – 3.50 หมายถึง ความพึงพอใจระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.51 – 2.50 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อย ค่าเฉลี่ย 1.00– 1.50 หมายถึง ความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด

Page 35: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 30 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ตารางที่ 5 ความพึงพอใจที่มีต่อห้องเรียนออนไลน์ ประเดน็ควำมพึงพอใจ ค่ำเฉลี่ย S.D. แปลผล

ความง่ายต่อการใช้งาน 4.18 0.67 มาก

ความสะดวกในการใช้งาน 4.25 0.63 มาก

สัดส่วนหน้าจอมีความเหมาะสมและน่าสนใจ 4.08 0.72 มาก

บทเรียนครอบคลุมตามที่คาดหวัง 3.99 0.69 มาก

ผู้เรียนสามารถเข้าทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา 4.15 0.71 มาก

ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านระบบได้ 4.07 0.83 มาก

มีการเช่ือมโยงไปยังแหล่งเรียนรู้อื่นที่เก่ียวข้อง 3.97 0.78 มาก

ระดับความรู้หลังการใช้งานห้องเรียนออนไลน์ 4.08 0.74 มาก

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าใช้ห้องเรียนออนไลน์ 4.24 0.75 มาก

การตอบค าถามและการตอบปัญหาของเจ้าหน้าที่ให้บริการผ่านเมล ์ 4.01 0.76 มาก

ระดับความพึงพอใจในการเขา้ใช้บริการในภาพรวม 4.20 0.67 มาก

จากตารางที่ 5 จะเห็นได้ว่าความพึงพอใจในภาพรวมที่มีต่อห้องเรียนออนไลน์ของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก ในทุกประเด็น โดยเฉพาะในด้านความสะดวกในการใช้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าใช้ห้องเรียนออนไลน์ ความง่ายต่อการใช้งาน และผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา

จากสรุปข้อเสนอแนะ ที่นักศึกษาได้ให้ไว้จากการสอบถามออนไลน์คือ เป็นการเรียนที่ดีมาก ทันสมัยและสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองในเวลาที่ต้องการ

จะเห็นว่าจากข้อเสนอแนะ สอดคล้องกับหลักปรัชญาการศึกษา ว่าผู้เรียนจะต้องเลือกเรียนในสิ่งที่สนใจ จะเรียนเมื่อไรก็ย่อมได้ ก่อให้เกิดการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตนั่นเอง

Page 36: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 31

กำรพัฒนำห้องเรียนออนไลน์

มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบรุี

กว่าห้องเรียนออนไลน์จะประสบความส าเร็จ และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้อย่างต่อเนื่องนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ต้องใช้เวลาในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในเรื่องของระบบและรูปแบบการน าเสนอ ซึ่งใช้เวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

1. การชักชวน 2. การบอกต่อ 3. การจัดฝึกอบรม 4. การมอบรางวัล 5. การก าหนดเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี6. การใช้เป็นเงื่อนไขในการปรับต าแหน่ง

วิธีกำรชักชวน ในระยะเริ่มแรก ใช้วิธีการชักชวนอาจารย์ที่ทีมงานรู้จักเข้ามาร่วมน าเสนอผ่านห้องเรียนออนไลน์ เบื้องต้นมีอาจารย์เข้าร่วมประมาณ 10 คน กระจายในแต่ละคณะ อีกทั้งมหาวิทยาลัยมีนโยบายสร้างสื่อวิดิทัศน์ เพื่อให้บริการในห้องสมุด จึงได้ชักชวนอาจารย์มาร่วมด าเนินการในอีกช่องทางหนึ่ง ในรายวิชาสถิติ ซึ่งนักศึกษามีปัญหาด้านผลการเรียนต่ ากว่าเกณฑ์ และในวิชาอื่นๆ โดยในเบื้องต้นให้อาจารย์น าเนื้อหาสื่อการสอนที่ต้องการน าเสนอ เอกสารต่างๆ ที่จะแจกในห้องเรียนก็เปลี่ยนมาให้ดาวน์โหลดแทน

Page 37: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 32 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ตัวอย่างสื่อวิชาสถิติ ในระยะแรก

ภาพที่ 10 ตัวอย่างวิชาสถิต ิในระยะแรก

ในระยะแรกทั้งผู้สอนและผู้เรียนก็ต่างยังใหม่กับระบบ ผู้สอนก็ยังคงสอนในห้องเรียนเป็นหลัก ส่วนห้องเรียนออนไลน์จะมีแบบฝึกหัดให้นักศึกษาท า เนื้อหาในห้องเรียนออนไลน์ยังเป็นเพียงการบอกหัวข้อที่จะเรียนกับแบบฝึกหัดที่มอบหมาย ด้วยวิธีการชักชวน ก็จะมีอาจารย์สนใจบ้างไม่สนใจบ้าง ส าหรับอาจารย์ที่เข้ามาร่วมก็จะเป็นกระบอกเสียงให้เราต่อไป

วิธีกำรบอกต่อ จากอาจารย์ที่เข้าร่วมในระยะแรกประมาณ 10 คน ได้น าเสนอสื่อผ่านห้องเรียนออนไลน์ อาจารย์ได้บอกต่อไปยังเพื่อนอาจารย์ด้วยกันมีคนสนใจ และติดต่อกลับมาบ้าง แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะท าให้ห้องเรียนออนไลน์เป็นที่รู้จัก จึงท าให้ ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้วิธีการอื่นต่อไป

Page 38: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 33

วิธีกำรจัดฝึกอบรม ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดโครงการฝึกอบรมโดยน าเสนอวิธีการใช้ห้องเรียนออนไลน์ ให้กับคณะบริหารธุรกิจเป็นคณะแรก คณะคหกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา โดยไปจัดฝึกอบรมให้ที่คณะ ผลการฝึกอบรมพบว่าอาจารย์มีความสนใจ อาจารย์บางท่านกลับไปท าต่อจนเป็นสื่อที่สามารถน ามาใช้ในการเรียน การสอนได้ครบรายวิชา และมีสื่อจ านวนมาก ที่ไม่มีการเคลื่อนไหวต่อจาก การฝึกอบรม เมื่อระยะเวลาผ่านไป ทีมงานได้ประชุมหารือว่าจะมีวิธีการใดบ้างที่จะท าให้มีคนเข้ามาใช้งานได้จริงอย่างเต็มรูปแบบ จึงได้เลือกใช้วิธีการจูงใจให้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น โดยการมอบรางวัล

วิธีกำรมอบรำงวัล เป็นรูปแบบการมอบรางวัลที่ไม่มีการส่งเข้าประกวดเหมือนอย่างที่เคยท ากันมา แต่เป็นการมอบรางวัลจากการคัดเลือกสื่อที่มีอยู่ในห้องเรียนออนไลน์ โดยใช้เกณฑ์ความก้าวหน้าของปริมาณเนื้อหาของสื่อที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากขอเปิดรายวิชา ในปีการศึกษา 2555 เมื่อคัดเลือกได้ตามจ านวนและตามประเภทที่ต้องการแล้ว ได้ด าเนินการแจ้งอาจารย์เจ้าของวิชาให้มารับรางวัล ซึ่งท าให้อาจารย์ที่ได้รับแจ้งประหลาดใจ ว่าไม่เคยทราบมาก่อนว่าจะได้รับรางวัล และรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างมาก โดยได้จัดพิธีมอบรางวัล ณ ห้องประชุม มังคลอุบล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีอย่างยิ่งใหญ่ รางวัลเป็นโล่ประกาศเกียรติคุณ และประกาศนียบัตร โดยมีผู้ ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 11 คน แบ่งรางวัลเป็น 2 ประเภท คือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับนักศึกษา จ านวน 5 รางวัล และพัฒนาเนื้อหาดีเด่น จ านวน 6 รางวัล และได้ท าการประชาสัมพันธ์ห้องเรียนออนไลน์ ไปในขณะเดียวกัน ได้รับผลการตอบรับอย่างมาก มีอาจารย์โทรมาสอบถามถึงโครงการการมอบรางวัลห้องเรียนออนไลน์เป็นจ านวนมาก อยากทราบวิธีการใช้ ห้องเรียนออนไลน์ อยากมีส่วนร่วมในการน าเสนอจะต้อง

Page 39: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 34 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ท าอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง อยากให้มีการจัดฝึกอบรมให้ และอยากทราบว่าจะมีการมอบรางวัลในปีต่อไปหรือไม่ และเกณฑ์ตัดสินจะใช้เกณฑ์ใดบ้าง ซึ่งท าให้ห้องเรียนออนไลน์เป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว

ภาพที่ 11 การมอบรางวลัห้องเรียนออนไลน์ปีการศึกษา 2555

ตัวอย่างรายวิชาที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถใช้งานได้เต็มรูปแบบของการเรียนการสอนออนไลน์

Page 40: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 35

ตัวอย่างของคณะบริหารธุรกิจ

ภาพที่ 12 ตัวอย่างสื่อรายวิชาคณิตศาสตร์การเงิน

เป็นรายวิชาที่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน และมีปฎิสัมพันธ์กับนักศึกษา ในทุกบทเรียน

Page 41: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 36 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ตัวอย่างของคณะวิศวกรรมศาสตร ์

ภาพที่ 13 ตัวอย่างสื่อรายวิชาเทคโนโลยีการบ ารุงรักษา

Page 42: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 37

ตัวอย่างของคณะวิทยาศาสตร ์

ภาพที่ 14 ตัวอย่างสื่อรายวิชาสถิติทั่วไป

จะเห็นได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับในระยะแรกแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในด้านคุณภาพของเนื้อหา และมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการบ้านผ่านระบบ การให้ท าแบบทดสอบ หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ

เมื่อห้องเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เริ่มรู้จักอย่างแพร่หลาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงได้ก าหนดเป็นนโยบาย

Page 43: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 38 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

วิธีกำรก ำหนดเป็นนโยบำยของมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี แต่เดิมมหาวิทยาลัยได้มีการก าหนดเป็นนโยบายไว้แล้ว แต่ยังไม่มีการติดตามแบบชัดเจนและลงลึกจะประกาศเป็นนโยบายในภาพรวม ต่อมาเมื่อมีการประกันคุณภาพการศึกษาเข้ามาเกี่ยวข้อง สื่อการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องมีการพัฒนา ดังนั้นจึงมีการก าหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนไปยังคณะต่างๆ และมีการติดตามผลอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกัน

วิธีกำรใช้เป็นเงื่อนไขในกำรปรับต ำแหน่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ตั้งเงื่อนไขการปรับต าแหน่งของพนักงานมหาวิทยาลัยในระดับสูงขึ้น ว่าจะต้องมีสื่อการสอนที่น าเสนอผ่านห้องเรียนออนไลน์ อย่างน้อยคนละ 1 วิชา ซึ่งในปี 2557 นี้ มีอาจารย์ขอเปิดรายวิชาเพื่อปรับต าแหน่งให้สูงขึ้น จ านวน 27 คน ซึ่งท าให้สื่อในห้องเรียนออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะอาจารย์บางท่านเปิดหลายรายวิชา

จะเห็นได้ว่ากว่าห้องเรียนออนไลน์จะประสบความส าเร็จและมีคนเข้าใช้งานอย่างต่อเนื่องนั้น ต้องมีวิธีการต่างๆ มากมาย แต่วิธีที่ดูว่าจะได้ผลดีที่สุดก็คือ การให้รางวัล ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นตัวเงิน แต่ได้ความภาคภูมิใจ และวิธีการก าหนดเงื่อนไข ก็สามารถใช้ได้ผลเช่นกัน แต่ไม่ได้ใจ เพราะคนส่วนใหญ่มักมองว่าท าตามนโยบาย

ณ วันนี้ห้องเรียนออนไลน์ได้ก้าวมาถึงช่วงระยะเวลาที่จะเรียกว่าพัฒนาเต็มรูปแบบแล้ว เป็นธรรมดา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประกอบไปด้วยอาจารย์ที่มีความแตกต่าง ทั้งในด้านวัยวุฒิ คุณวุฒิ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี จึงได้มีเสียงเรียกร้องมาเป็นระยะๆ ให้ปรับห้องเรียนออนไลน์ ในแบบที่ รองรับ เครื่องมือสื่ อสารใน ยุคดิจิทั ล ได้ทุ กอุปกรณ์ ได้ หรือไม่ ส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์ที่อายุค่อนข้างน้อย มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

Page 44: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 39

แล้วเราจะมีห้องเรียนออนไลน์ที่ทันสมัยทันต่อยุคดิจิทัล และยุคของการสื่อสารแบบเผชิญหน้าหรือไม่ และจะมีเมื่อไร

Page 45: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 40 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

กับกำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ควำมหมำยของสื่อดิจิทัล

สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการน าเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ วิดีโอ โดยอาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยให้ข้อมูลที่เป็นสื่อต่างๆ เหล่านั้นมาแปลงสภาพ และเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการใช้งาน หรืออาจจะหมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งท างานโดยใช้รหัสดิจิทัล ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเลขฐานสอง ในกรณีนี้ ดิจิทัล หมายถึงการแยกแยะระหว่าง "0" กับ "1" (วิกิพีเดีย, 2557)

ลักษณะขอสื่อดิจิทัล

ลักษณะของสื่อดิจทัล สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. ข้อความ (Text) เป็นส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหาใช้แสดงรายละเอียด หรือ

เนื้อหาของเรื่องที่น าเสนอ ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่ส าคัญ ส่วนใหญ่สร้างจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นข้อความปกติที่พบได้ทั่วไป ได้จากการพิมพ์ด้วย โปรแกรมประมวลผลงาน (Word Processor) เช่น NotePad, Text Editor, Microsoft Word เป็นต้น

2. เสียง (Audio) ถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาณดิจิทัล ซึ่งสามารถเล่นซ้ ากลับไปกลับมาได้ โดยใช้โปรแกรมที่ออกแบบ มาโดยเฉพาะส าหรับท างาน ด้านเสียง หากในงานมัลติมีเดียมีการใช้เสียงที่เร้าใจและสอดคล้องกับเนื้อหาใน การน าเสนอ จะช่วยให้ระบบมัลติมีเดียนั้นเกิดความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

Page 46: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 41

นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความน่าสนใจและน่าติดตามในเรื่องราวต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากเสียงมีอิทธิพลต่อผู้ใช้มากกว่าข้อความหรือภาพนิ่ง ดังนั้น เสียงจึงเป็นองค์ประกอบที่จ าเป็นส าหรับมัลติมีเดียซึ่งสามารถน าเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน แผ่นซีด ีแผ่นดีวีดี เทป และวิทยุ เป็นต้น

3. ภาพนิ่ง (Still Image) เป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด และภาพลายเส้น เป็นต้น ภาพนิ่งนับว่ามีบทบาทต่อระบบงานมัลติมีเดียมากกว่าข้อความหรือตัวอักษร เนื่องจากภาพจะให้ผลในเชิงการเรียนรู้หรือรับรู้ด้วยการมองเห็นได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายทอดความหมายได้ลึกซึ้งมากกว่าข้อความหรือตัวอักษรซึ่งข้อความหรือตัวอักษรจะมีข้อจ ากัดทางด้านความแตกต่างของแต่ละภาษา แต่ภาพน้ันสามารถสื่อความหมายได้กับทุกชนชาติ ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์หรือวารสารวิชาการ เป็นต้น

4. ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจ การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างเกี่ยวกับขนาดของไฟล์ที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่า

5. ภาพวีดีโอ (Video) ถือว่าเป็นสื่อมัลติมีเดียที่ส าคัญมาก เนื่องจากวิดีโอ ในระบบดิจิทัล สามารถ น าเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์ ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอ คือการสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจ าเป็นจ านวนมาก เนื่องจากการน าเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจ านวนภาพไม่ต่ ากว่า 30 ภาพต่อวินาที (Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้

Page 47: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 42 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน การน าเสนอภาพเพียง 1 นาท ีอาจต้องใช้หน่วยความจ ามากกว่า 100 MB ซึ่งจะท าให้ไฟล์มีขนาดใหญ่

จะเห็นได้ว่าสื่อดิจิทัล มีหลากหลายรูปแบบ การน าสื่อดิจัลไปสนับสนุน

และเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน สามารถท าได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ในยุคศตวรรษที่ 21 การสร้างสื่อดิจิทัลถือเป็นเรื่องที่ท าได้ค่อนข้างง่าย

เนื่องจากมีเครื่องมือในการสร้างสื่อที่หลากหลาย และเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถรองรับได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่ส าคัญคือ การรู้เท่าทันสื่อต่างหาก การเลือกใช้สื่ อที่ มีประโยชน์ การไม่ละเมิด และการไม่ วิพ ากวิจารณ์ ผ่านเทคโนโลยีทันสมัยเหล่านั้น ดังนั้น เราต้องมาร่วมกันสร้างผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามที่การเรียนรู้ในศตวรรษ 21 ต้องการ

Page 48: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 43

กำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

วิจารณ์ พานิช (ม.ป.ป.) ได้สรุปความส าคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ว่า จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะท าให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น โรงเรียนในศตวรรษ ที่ 21 จะเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐาน (Project-based Curriculum) เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง เป็นประเด็นที่ เกี่ ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ และค าถามเกี่ ยวกับอนาคต เชิงวัฒนธรรม สังคมและสากล

ภาพของโรงเรียนจะเปลี่ยนจากการเป็นสิ่งก่อสร้างเป็นภาพของการเป็นศูนย์รวมประสาท (Nerve Centers) ที่ไม่จ ากัดอยู่แต่ในห้องเรียน แต่จะเชื่อมโยงครู นักเรียนและชุมชน เข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก ครูเองจะเปลี่ยนจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ และน าความรู้เป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติ เป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ และต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการสืบค้น (Create a Culture of Inquiry)

ในศตวรรษที่ 21 การให้การศึกษาตามทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom´s Taxonomy of Learning) จะเปลี่ยนไป เน้นทักษะการเรียนรู้ขั้นที่สู งขึ้น (Higher order Learning Skills) โดยเฉพาะทักษะการประเมินค่า (Evaluating Skills) จะถูกแทนที่โดยทักษะการน าเอาความรู้ใหม่ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ (Ability to Use new Knowledge in a Creative Way) ในอดีตที่ผ่านมา นักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนรายวิชาต่างๆ เพื่อรับเกรด และเพื่อให้จบการศึกษา แต่ในปัจจุบันจะพบปรากฏการณ์ใหม่ที่แตกต่างไป เช่น การเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง (Life in

Page 49: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 44 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

the Real World) เน้นการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนเป็นคนเจ้าความคิด เจ้าปัญญา (Resourceful) ที่ยังคงแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาออกไป

ลักษณะของหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 จะเป็นหลักสูตรที่เน้นคุณลักษณะเชิงวิพากษ์ (Critical Attributes) เชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) ยึดโครงงานเป็นฐาน (Project-based) และขับเคลื่อนด้วยการวิจัย (Research-driven) เชื่อมโยงท้องถิ่นชุมชนเข้ากับภาค ประเทศ และโลก ในบางโอกาสนักเรียนสามารถร่วมมือ (Collaboration) กับโครงงานต่างๆ ได้ทั่วโลก เป็นหลักสูตร ที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง พหุปัญญา เทคโนโลยีและมัลติมีเดีย ความรู้พื้นฐานเชิงพหุส าหรับศตวรรษที่ 21 และการประเมินผลตามสภาพจริง รวมทั้ ง การเรียนรู้จากการให้บริการ (Service) ก็เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญ

ภาพของห้องเรียน จะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น (Greater Community) นักเรียนมีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้น าตนเองได้ (Self-directed) มีการท างานทั้งอย่างเป็นอิสระและอย่างร่วมมือกับคนอื่น หลักสูตรและการสอน จะมีลักษณะท้าทายส าหรับนักเรียนทุกคน และค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล หลักสูตรจะไม่เน้นการยึดต าราเป็ นตั วขับ เคลื่ อน (Textbook-driven) หรือแบบแยกส่ วน (Fragmented) เช่นในอดีต แต่จะเป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานและการบูรณาการ การสอนทักษะและเนื้อหาจะไม่เป็นจุดหมายปลายทาง (as an end) เช่นที่เคยเป็นมา แต่นักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้ ผ่านการวิจัยและ การปฏิบัติในโครงงาน การเรียนรู้จากต าราจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ความรู้ (Knowledge) จะไม่หมายถึงการจดจ าข้อเท็จจริงหรือตัวเลข แต่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการวิจัยและการปฏิบัติโดยเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์เก่าที่มีอยู่ ทักษะและเนื้อหา ที่ได้รับจะเกี่ยวข้องและมีความจ าเป็นต่อการปฏิบัติในโครงงาน จะไม่จบลงตรงที่การได้รับทักษะและเนื้อหาแล้วเท่านั้น การประเมินผลจะเปลี่ยนจากการประเมิน

Page 50: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 45

ความจ าและความไม่เกี่ยวโยงกับความเข้าใจต่อการน าไปปฏิบัติได้จริง ไปเป็นการประเมินที่ผู้ถูกประเมินมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย (Self-assessment) ทักษะที่คาดหวังส าหรับศตวรรษที่ 21 ที่เรียนรู้ผ่านหลักสูตรที่เป็น สหวิทยาการ บูรณาการ ยึดโครงงานเป็นฐาน และอื่นๆ ดังกล่าวจะเน้นเรื่อง 1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) 2) ทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) ทักษะสารสนเทศ สื่ อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) ที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือ (Collaboration) ในการท างานเป็นทีม การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ในปัญหาที่ซับซ้อน การน าเสนอด้วยวาจาและด้วยการเขียน การใช้เทคโนโลยี ความเป็นพลเมืองดี การฝึกปฏิบัติอาชีพ การวิจัย และการปฏิบัติสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น

ดังนั้น การให้การศึกษาส าหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะ (Perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (Tradition Paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบง่ายๆ ไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะและค่านิยมทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นตนเอง ความยืดหยุ่น การจูงใจตนเอง และความตระหนักในสภาพแวดล้อม และเหนืออื่นใด คือ ความสามารถใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ ( the Ability to Handle Knowledge Effectively in order to Use it Creatively) ถือเป็นทักษะที่ส าคัญจ าเป็นส าหรับการเป็นนักเรียนในศตวรรษ ที่ 21 ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายในการที่จะพัฒนาการเรียนเพื่ออนาคตให้นักเรียน

Page 51: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 46 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

มีทักษะ ทัศนคติ ค่านิยม และบุคลิกภาพส่วนบุคคล เพื่อเผชิญกับอนาคตด้วยภาพในทางบวก (Optimism) ที่มีทั้งความส าเร็จและมีความสุข

ภาพที่ 15 ภาพกรอบแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ที่มา : ส านักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน

นอกจากทักษะต่างๆ ที่จ าเป็นต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การมีเครื่องมือที่จะช่วยในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ ก็มีความส าคัญไม่แตกต่างกัน การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสิ่งส าคัญมากในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีทฤษฎีที่รองรับการเรียนรู้ ในยุคดิจัล เริ่ม เป็ นที่ ยอมรับ เรียกว่าทฤษฎีคอนเน็คติ วิซึม (Connectivism) เกิดข้อสงสัยอีกแล้วใช่ไหม มาดูกันเลย

Siemens (2005) ผู้เสนอทฤษฎีการเชื่อมต่อ หรือที่เรียกว่า Connectivism มีความคิดเห็นว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นก่อนยุคดิจิทัล ซึ่งดิจิทัลยังไม่มีบทบาทต่อชีวิตมนุษย์เราเช่นทุกวันนี้ ทฤษฎีการเชื่อมต่อจึงเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการอธิบายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัล

Page 52: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 47

Siemens อธิบายว่า Connectivism เป็นทฤษฎีที่รองรับความรู้ที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกวัน ท าให้ความรู้ที่มีอยู่นั้นมีอายุการใช้งานที่สั้นลง ความรู้ที่ทันสมัยในปัจจุบัน กลายเป็นความรู้ที่ล้าสมัยในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากเทคโนโลยีมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จึงท าให้ คนเรามีความจ าเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต องค์ความรู้ที่มีการวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลข่าวสาร ที่มีจ านวนมากมหาศาล ท าให้ไม่สามารถจะมีการเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียนได้ตลอดไป มนุษย์มีความจ าเป็นที่จะต้อง ปรับตัวในการด ารงชีวิตให้มีความสอดคล้องกับสังคม ที่เปลี่ยนไป และมีความรู้ที่ทันกับกาลเวลาและยุคสมัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีผลต่อวิธีเรียนรู้ แหล่งความรู้ และวิธีเข้าถึงแหล่งความรู้ เกิดการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันอย่างรวดเร็ว และกระแสหมุนเวียน ที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นระบบนิเวศการเรียนรู้ที่มีกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน มารวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงพัฒนา ระบบนิเวศการเรียนรู้หนึ่งจะกระทบถึงระบบนิเวศการเรียนรู้อื่นๆ อย่างรวดเร็วเช่นกัน แหล่งข้อมูลความรู้ในปัจจุบัน ได้แก่ อินเทอร์เน็ต ชุมชน และ นิเวศวิทยาการเรียนรู้ ท าให้เกิดการสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างศาสตร์ต่างๆ ที่เข้าถึงกันได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิม โดยที่ศาสตร์ต่างๆ แต่เดิมนั้นมักจะอยู่โดดเดี่ยวแยกจากกัน แต่ในปัจจุบัน มีอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการเชื่อมต่อศาสตร์ต่างๆ เหล่านี้

ทฤษฎีคอนเน็คติวิซึม เราใช้กันทุกวันแต่เราอาจจะไม่รู้ เพราะเป็นการค้นหาความรู้ สรุปรวบรวมองค์ความรู้ เผยแพร่ความรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ คุ้นๆ แล้วใช่ไหม เราลองมาดูภาพนี้กันจะได้ร้องอ๋อ เราใช้ทฤษฎีนี้กันอยู่ทุกวันน่ันเอง

Page 53: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 48 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ภาพที่ 16 ภาพการแบ่งปันเชื่อมโยงแหล่งความรู้ ที่มา : Brian Solis and Johan Ronnestam, 2011

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สื่อดิจิทัลสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่การเลือกใช้จะต้องมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ร่วมด้วย มิฉะนั้น อาจจะท าให้ไม่รู้เท่าทันสื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือ ดังนั้น การออกแบบการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยจะต้องเน้นในเรื่องเหล่าน้ี เราลองมาดูกันว่าห้องเรียนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 หน้าตาเป็นยังไงกันบ้าง

Page 54: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 49

ภาพที่ 17 ภาพห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 ที่มา: http://www.opencolleges.edu.au/infographic/21st_century_classroom.html

จะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะเป็นการเรียนแบบเรียน ด้วยตนเองเป็นหลักโดยมีครูเป็นผู้เตรียมสื่อการสอนและแนะน าแหล่งค้นคว้า โดยใช้การเรียนแบบร่วมกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านระบบเครือข่ายการเรียนรู้ เครื่องมือของครูจะเป็นสื่อผ่านเว็บเป็นส่วนใหญ่ และใช้การสื่อสารกับผู้เรียนผ่านโปรแกรมสื่อสารซึ่งมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น email, Chat หรืออาจจะใช้ Social Media ร่วมด้วย เช่น Facebook, Tweeter ส่วนการเผยแพร่ความรู้อาจจะใช้ Blogs หรือการน าเสนอผ่านเว็บต่างๆ เช่น Prezi, Slide share เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากภาพเครื่องมือส าหรับผู้สอน และวิธีการต่างๆ ของผู้เรียน

Page 55: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 50 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ภาพที่ 18 เครื่องมือครูในศตวรรษที่ 21 ที่มา: http://krusri.wikispaces.com/file/view/wordlezimmer.jpg/186648997/wordlezimmer.jpg

ภาพที่ 19 รูปแบบการเรียนในศตวรรษที่ 21

ที่มา: https://www.flickr.com/photos/cobannon/6145799166/

แล้วห้องเรยีนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จะพัฒนาให้ตอบสนองการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร ติดตามกันต่อไป

Page 56: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 51

ของห้องเรียนออนไลน ์

มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุร ี

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัล จะเห็นได้ว่ารอบๆ ตัวเราล้วนแต่มีวงจรคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบแทบทั้งสิ้น การสื่อสารในยุคไร้พรมแดน ไม่ ว่ าจะอยู่ห่ างไกลแค่ ไหนก็สามารถติดต่อสื่ อสารกันได้ เหมือนก าลั ง นั่งเผชิญหน้ากัน ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อุปกรณ์สนับสนุน การเรียนรู้ต่างๆ แข่งขันกันออกสู่ตลาด โดยพัฒนาเครื่องมือออกมาในรูปของเครื่องมือสื่อสาร และมีความสามารถของคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบ ดังจะเห็นได้จากโทรศัพท์มือถืออัจฉริยะ (Smart Phone) ต่างๆ คอมพิวเตอร์พกพา ในระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน มีหลายค่ายให้เลือกใช้ได้ตามความชอบ หรือตามแต่ประโยชน์ของการใช้งาน ในราคาที่แตกต่างกัน แต่ก็ไม่ได้แพงมาก เหมือนในอดีต

การก้าวเข้าสู่ยุคของการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 การสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ท าให้สามารถสื่อสารได้ทั้ งภาพและเสียงผ่านระบบเครือข่ายไร้สายต่างๆ ที่หลากหลาย มีอุปกรณ์ส่งเสริมการเรียนการสอนที่มีขนาดเล็กสามารถพกพาได้อย่างสะดวก และรองรับการเข้าถึงระบบเครือข่ายไร้สายที่มีประสิทธิภาพเหล่านั้น การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถท าได้ทุกที่ทุกเวลา จากเดิมผู้ที่ให้ความรู้จะเป็นครูผู้สอนเท่านั้น ส่วนผู้เรียนจะเป็นฝ่ายรับความรู้เพียงอย่างเดียว แต่ด้วยสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปเทคโนโลยี เป็นส่วนส าคัญ

Page 57: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 52 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ในการขับเคลื่อน ท าให้ผู้สอนก็ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีเพื่อน ามาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนการสอน ส่วนผู้เรียนนั้น เนื่องจากเทคโนโลยีได้เข้าถึงอย่างรวดเร็วและผู้ เรียนสามารถใช้ เทคโนโล ยี เหล่ านั้ น ได้ จนเป็ นส่ วนหนึ่ ง ในชีวิตประจ าวันแล้ว ท าให้การเรียนรู้ของผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้รวดเร็วมาก จึงมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สลับกันไปมาระหว่างครูผู้สอน และผู้เรียน ในส่วนที่ ต่างคนต่างมีความช านาญ ท าให้เกิดสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเมื่อเกิดมีค าถามหรือข้อข้องใจในสิ่งใด จะมีการสอบถามผ่านระบบเครือข่ายสาธารณะระบบเปิด และจะมีผู้ที่มีความรู้ความช านาญมาให้ค าตอบ หรือหากแต่ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้มาตอบค าถามเหล่านั้นด้วยตนเอง ก็จะมีผู้ที่มีความสนใจเรื่องที่ต้องการหาค าตอบเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนแหล่งความรู้ที่ได้ไปพบน ามาแบ่งปัน ท าให้เกิดสังคมแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีความจ าเป็นที่จะต้องรู้จักกันมาก่อน หรือไม่จ าเป็นจะต้องเป็นครูเป็นศิษย์กัน ท าให้การศึกษาในยุคการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและหลากหลาย ก่อให้เกิดความร่วมมือในการสร้างแหล่งทรัพยากรเรียนรู้แบบ Online (บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ , 2555) ปัจจุบันมีการให้บริการระบบต่างๆ เป็นจ านวนมากทั้ง มีค่าใช้จ่ายและไม่มีค่าใช้จ่าย เพียงแต่ผู้ที่จะเป็นผู้สร้างทรัพยากรเรียนรู้แบบออนไลน์จะต้องมีพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์บ้าง เนื่องจากโปรแกรมสนับสนุนต่างๆ ใช้งาน ได้ง่าย ไม่ซับซ้อนนัก ส่วนใหญ่ เป็นแบบส าเร็จรูปมาแล้ว เพียงแต่ผู้สร้างแหล่งทรัพยากร จะต้องมีเนื้อหาที่จะน าเสนอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ส าคัญที่สุด

Page 58: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 53

ภาพที่ 20 ความร่วมมือในการสร้างแหล่งทรัพยากร เรียนรู้แบบ Online ที่มา : บุญเลิศ อรุณพิบูลย์ http://stks.or.th

จากความสามารถในการแลกเปลี่ยนและร่วมกันสร้างแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายความรู้ ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคของการเรียนรู้แบบ ไร้ขอบเขต สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่และไม่จ ากัดอุปกรณ์ ซึ่ งสามารถเรียนรู้ ได้ทุ กหนทุกแห่ งซึ่ งเป็นการเรียนรู้ รูปแบบยูบิควิตัส (Ubiquitous Learning หรือ u-Learning) นั่นเอง

นิยำมศัพท์ Ubiquitous Learning หรือ u-Learning Ubiquitous Learning หรือ u-Learning หมายถึ ง สภาพการเรียนรู้

ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะอุปกรณ์การเรียนรู้ใดๆ เป็นการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียน ผู้สอน สื่อเนื้อหา มีการแลกเปลี่ยน และพัฒนาองค์ความรู้ ผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย โดยในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนจะใช้ภาษาไทย ส าหรับ u-Learning ในส่วนที่ผู้เขียนด าเนินการว่า “การเรียนรู้ไร้ขอบเขต”

Page 59: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 54 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

Ubiquitous Learning เป็นแนวคิดและวิธีการใหม่ล่าสุด ซึ่งมีหลักการ คือการเรียนได้ทุกที่ ทุกช่วงชีวิตโดยไม่จ ากัดแต่ในห้องเรียน เรียนได้ทั้งที่บ้าน ที่ท างาน สนามเด็กเล่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การศึกษาธรรมชาติ และเรียนจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอื่นๆ นอกจากนี้การเรียนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการกระท า ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใดๆ จะเกิดการเรียนรู้อยู่เสมอซึ่งจะไม่ใช้การรับรู้โดยการอ่านหนังสือจากต ารา หรือฟังบรรยายในห้องเรียน แต่เกิด การเรียนรู้โดยการผ่านสัมผัสทั้งห้า (Bertram C.Bruce, 2003)

Ubiquitous Learning เป็นกระบวนทัศน์การเรียนรู้ที่เข้ามาเสริมสร้างประสิทธิภาพในการเรียนการสอนที่สามารถกระท าได้ในทุกเวลาและทุกสถานที่ โดยการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และการบริการเข้าไว้ด้วยกัน (Watson, C. E., and J. T. Ogle, 2013)

Ubiquitous Learning มีความหมายโดยรวมว่าการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น โปรแกรมออนไลน์ต่างๆ Ubiquitous Learning มีความสะดวกสบายเป็นอย่างมากเพราะเราสามารถจัดเวลาเรียนได้ด้วยตัวเอง ไม่เฉพาะเรื่องเรียนเท่านั้น Ubiquitous Learning ยังสามารถใช้ร่วมในการท างานได้อีกด้วย (Nicholas C. Burbules, 2003)

ศรีศักดิ์ จามรมาน (ม.ป.ป.) ได้ให้นิยามความหมายของค าว่า “ยูเลิร์นนิ่ง” คือ การเรียนด้วยตนเอง หรือถ้าใช้ภาษาพ่อขุนรามค าแหง ก็คือ “กูเลิร์นนิ่ง” ซึ่งอาจจะแปลความหมาย เป็นการเรียนจาก “กูเกิล” ก็ได้ นั่นคือ ยูเลิร์นนิ่ง คือ การใช้สื่ออะไรก็ได้ในการเรียนด้วยตนเอง ทั้งนี้ หากมองในแง่ของไอทีก็มีเทคโนโลยี และ สื่อที่ใช้ในการเรียนด้วยตนเอง เช่น อีเลิร์นนิ่ง (e-Learning) เอ็ ม เลิ ร์นนิ่ ง (m-Learning) เสิ ร์ช เอ็นจิน (Search Engine) และหนั งสื ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เป็นต้น นอกจากนี้ค าว่า “ยูเลิร์นนิ่ง” ก็อาจจะแปล

Page 60: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 55

ความหมายได้อีกว่าเป็นการเรียนจาก “ยูทิวบ์ (YouTube)” ซึ่งเป็นเว็บที่ให้บริการวิดีโอออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2556) ได้ให้ทรรศนะเกี่ยวกับการศึกษาในลักษณะของ Ubiquitous Education โดยใช้ศัพท์ ค าว่า “การศึกษาภควันตภาพ” ไว้ดังนี้

“การศึกษาภควันตภาพ (Ubiquitous Education) เป็นระบบการศึกษาแห่งอนาคตที่จะสลายภาพการศึกษาทางใกล้เผชิญหน้าในห้องเรียน และการศึกษาทางไกล (เรียนเองที่บ้านหรือที่ท างาน) การศึกษาที่แท้จริงต้องไม่มีทางใกล้ทางไกล แต่เป็นการศึกษาองค์รวม ผสมผสานและบูรณาการ นั่นคือ ผู้เรียนได้รับความรู้ทุกแห่งหนและทุกเวลา นั่นคือ การศึกษาภควันตภาพ”

ความหมายของภควันตภาพ

ค าว่า ภควันต์ แปลว่า มีภาคหรือมีส่วนย่อย มากจากค าว่า ภค แปลว่า ภาค ส่วน วนต แปลว่า มี รวมกันแปลว่า มีภาคสภาวะที่มีการแบ่ งภาคส่วน การกระจายส่วน หมายถึง การแผ่กระจายจากจุดก าเนิดไปโดยรอบ ใกล้หรือไกลแล้วแต่แรงส่งส่วนที่จะส่งไปเป็นสัญญาณหรือพลังงานที่ส่งไปตามสาย หรือไร้สาย เช่น สัญญาณวิทยุกระจายเสียง สัญญาณวิทยุโทรทัศน์ และสัญญาณพลังจิตที่เรียกว่า โทรจิต

ค าว่า ภควันตะ ในสมัยก่อน จะใช้เรียก เทพผู้มีอานุภาพในการแผ่สัญญาณไปได้ไกล อาทิ พระพุทธเจ้า พระผู้เป็นเจ้า พระวิษณุ พระอิศวร เป็นต้น ในทางโลกวัตถุ ค าว่า ภควันต ตรงกับค าว่า Broadcast หรือ Ubiquitous (=Existing everywhere) หมายถึงค าว่า การแพร่กระจายและการท าให้ปรากฏอยู่ทุกแห่งหน สามารถรับฟัง รับชม และรับรู้ได้ทุกเวลา เรียกรวมว่า ภควันตภาพศาสตร์ที่ว่า ด้วยการแพร่กระจายความรู้ ข้อมูลข่าวสารหรือสภาวะต่างๆ เรียกว่า ภควันตวิทยา ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Ubiquitology หรือ Pakawantology

Page 61: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 56 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

(อ่านว่า ภะ-คะ-วัน-โต-โล-ยี) เมื่อน าค าว่า ภควันตภาพ ไปใช้จะอยู่ในรูปค าขยาย เช่น ห้องเรียน (แบบ) ภควันตภาพ (U-Classroom) โรงเรียนภควันตภาพ (U-School) องค์กรภควันตภาพ (U-Organization) หรือ ชุมชนภควันตภาพ (U-Community) การด าเนินการให้เกิดผลทางภควันตภาพ จ าเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยี เข้ ามาช่ วย เรียกว่ า เทคโนโลยีภควันตภาพ (Ubiquitous Technology, Ubiquitology, or Pakawantology) เทคโนโลยีภควันตภาพเป็นศาสตร์ที่ ว่าด้วยการวางแผนเตรียมการด าเนินการถ่ายทอด การจัดสภาพแวดล้อม และการประเมินความรู้ ประสบการณ์ และทักษะความช านาญไปปรากฏอยู่ทุกแห่งหน

Ubiquitous Learning หรือ u-Learning และการศึกษาแบบภควัตภาพ ตามที่ ศาสตราจารย์ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้นิยามศัพท์ภาษาไทยนั้น แต่ผู้เขียนจะใช้ทับศัพท์ว่า u-Learning เพื่อความเข้าใจและสอดคล้องกับระบบการเรียน การสอนทั่วไป เช่นเดียวกันกับ e-Learning และ m-Learning

กล่ าวกันว่า u-Learning เป็ นพัฒ นาการต่ อจาก e-Learning และ m-Learning โดยมี เป้าหมายหลักคือการติดตามผู้ เรียน การท ากิจกรรม การมีส่วนร่วม การเข้าถึงได้ทุกหนทุกแห่ง

กำรเรียนรู้รูปแบบ u-Leaning

การเรียนรู้รูปแบบ u-Leaning ตามแนวคิดขอ Cheng, Z., Shengguo, S., Kansen, M., Huang, T., & Aiguo, H. (2005) มีลักษณะ ดังนี้

1. Ubiquitous learning ต้องเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์มัลติมี เดีย (Multimedia network) การเรียนแบบออนไลน์ เชื่อมต่อเครื่องมือเรียนรู้อื่น

2. Ubiquitous learning ต้องเป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือ และอภิปรายเป็นกลุ่ม (Collaborative and group discussion)

Page 62: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 57

3. Ubiquitous learning เป็นการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการเรียนรู้แบบน าตนเอง (Collaborative learning & self-directed learning)

4. การประเมินแบบการเรียนรู้แบบ Ubiquitous learning ต้องประเมินตามสภาพจริงโดยผู้เรียนเองเป็นหลัก ซึ่งผู้สอนสามารถสังเกตด้านอื่นๆ ได้ตามระบบที่จัดไว้ให้

ผลกระทบของ u-Learning

u-Learning ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวทางการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ (ศิริชัย นามบุรี ,2556)

1. การปรับเปลี่ยนชั้นเรียนแบบปกติแบบดั้งเดิม (Traditional Classroom) ที่มีผู้เรียนต้องใช้สื่อและเนื้อหา และสิ่งต่างๆ จากผู้สอน ปรับเปลี่ยนไปแบบไม่มีชั้ น เรี ยน (Non-traditional Classroom) สามารถ เรี ยน ได้ ทุ กที่ ทุ ก เวลา ทุกสถานการณ์ โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้อ านวยความสะดวก (Facilitator) มีหน้าที่สนับสนุนให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้ และส่งเสริมในเรื่องของการแนะน า แหล่งเรียนรู้

2. เตรียมผู้เรียนให้เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงและติดตามตัวได้ตลอดเวลา เพื่อเป็นเครื่องมือส าหรับการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และมีการแลกเปลี่ยนผ่านระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์

3. ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-pace Learning) โดยผู้เรียนสามารถเลือกเนื้อหา สาระ อุปกรณ์ ช่องทาง และเครื่องมือต่างๆ ด้วยตนเอง ตามความสามารถและความพึงพอใจของตนเอง ส่งเสริมการสร้างรูปแบบ การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Learner Center) ได้อย่างแท้จริง

4. การเรียนรู้เป็นวิถี เนื่องจากการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ได้ทุกสถานการณ์ เสมือนเป็นส่วนหนึ่งของการด ารงชีวิต

Page 63: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 58 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

จะเห็นได้ว่าแนวทางของ u-Learning ที่กล่าวมาข้างต้น จะมุ่งเน้นในด้านการเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

จากที่กล่าวมาทั้งหมด เทคโนโลยี อุปกรณ์ เครื่องมือ ผู้สอน ผู้เรียน ในยุคศตวรรษที่ 21 และความต้องการการเรียนรู้ที่หลากหลาย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาระบบการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ พร้อมทั้งได้ก าหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชาการ ประจ าปีงบประมาณ 2557 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อย่างชัดเจน (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2557)

ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้รับผิดชอบภารกิจนี้ได้มีการเตรียมการไว้บ้างแล้ว เนื่องจากเป็นผู้ดูแลระบบ และต้องเตรียมเทคโนโลยีให้เหมาะสม ได้มีการประชุมในระดับหัวหน้าแผนกและหัวหน้าฝ่าย เพื่อเตรียมพัฒนาปรับปรุงรูปแบบของห้องเรียนออนไลน์ให้มีความทันสมัย ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ศตวรรษที่ 21 ที่มีคุณลักษณะส าคัญคือการมีส่วนร่วม ดังนั้น ห้องเรียนออนไลน์ในรูปแบบที่จะพัฒนาต่อไป จะเน้นในลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ในรูปแบบของ Interactive Learning จะมีการน าเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เข้ามาผนวกเพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน ให้การเรียนรู้เป็นไปแบบไม่ถูกบังคับ เป็นการเรียนตามความต้องการของผู้ เรียน ผ่านเครื่องมือที่ผู้เรียนสนใจ ดังนั้นการออกแบบสื่อการสอนให้ตอบสนองเครื่องมือเหล่านั้นเป็นเรื่องส าคัญ

แผนการด าเนินงานในระยะแรกจะเชิญชวน อาจารย์รุ่นใหม่ไฟแรง ใช้เทคโนโลยีอย่างคล่องแคล่ว เข้ามามีส่วนร่วมในห้องเรียนออนไลน์ในรูปแบบใหม่ก่อน ซึ่งสามารถดูได้จากผลงานในห้องเรียนออนไลน์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งมีอยู่พอสมควรเลยทีเดียว

Page 64: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 59

การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมจะท าให้เกิดความคิดที่หลากหลาย โดยเฉพาะอาจารย์เองซึ่งเป็นผู้ใช้ระบบ เมื่อได้เข้ามามีส่วนร่วมแล้วจะท าให้หน้าตาของห้องเรียนในยุคสังคมแห่งการแบ่งปัน ประสบผลส าเร็จได้

สิ่งที่เป็นเป้าหมายของห้องเรียนออนไลน์ที่จะพัฒนาให้ตอบสนองในยุคศตวรรษที่ 21 จะมุ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันที่จะก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

ภาพที่ 21 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Page 65: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 60 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

เอกสำรและสิ่งอ้ำงอิง

กองนโยบายและแผน. ม.ป.ป. นโยบำยแผนกำรบริหำรจดักำรและแผนพัฒนำ มหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี ปีงบประมำณ พ.ศ.2557-2560 . ปทุมธาน:ี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบรุี.

กิดานันท์ มลิทอง. 2543. เทคโนโลยีกำรศึกษำและนวัตกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ.์

กิดานันท์ มลิทอง. 2548. ไอซีทีเพื่อกำรศึกษำ. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

กิตติ พุ่มพวง และ อรรคเดช โสสองชั้น. 2547. คูมือกำรใชงำน Moodle (เวอรชัน 1.4.2) ส ำหรับผสูอน. โครงการการศึกษาไรพรมแดน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ.

ใจทิพย์ ณ สงขลา. 2542. “การสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวดเ์ว็บ”. วำรสำรครุศำสตร์. 27 (3) 18-28.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2556. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบงั. มิติใหม่ในสังคมแห่งกำรเรียนรู้ร่วมกันและกำรแบ่งปัน . 11 มีนาคม 2556. เอกสารประกอบการเสวนา.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2544. “การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) นวัตกรรมเพื่อคุณภาพการเรียนการสอน”. วำรสำรศึกษำศำสตร์สำร. 28 (1) 87-94.

บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. 2555. เทคนิคกำรจัดเตรียมสื่อดิจิทัล. (Online). http://stks.or.th. 16 ธันวาคม 2555.

Page 66: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 61

ปทีป เมธาคุณวุฒิ. 2540. ข้อเสนอแนะในกำรจัดกำรเรียนกำรสอนทำงไกล โดยกำรใชก้ำรเรียนกำรสอนแบบเว็บเบสต์ : เอกสำรประกอบกำรสอนวิชำ 2710643 หลกัสูตรและกำรเรียนกำรสอนทำงกำรอุดมศึกษำ. ภาควิชาอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. 2543. “การประเมนิเว็บช่วยสอน”. เทคโนฯ-ทับแก้ว. 3 48-52

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2550. รำยงำนผลกำรติดตำมกำรจัดท ำโครงกำรภำยใต้ยุทธศำสตร์กำรพัฒนำมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี ในแผนพัฒนำกำรศึกษำระยะที่ 10 พ.ศ.2550-2554. บันทึกข้อความ ลงวันที่ 19 มกราคม 2550 (อัดส าเนา).

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี . มปป. ประวัติมหำวิทยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี. (Online). http://www.rmutt.ac.th/?page_id=368. 8 ธันวาคม 2557.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2557. แผนพัฒนำเชิงยุทธศำสตร์วำระเร่งดว่น มหำวทิยำลัยเทคโนโลยีรำชมงคลธัญบุรี พ.ศ. 2557-2560 (ฉบับย่อ). ปทุมธาน:ี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 2557. แผนปฏิบัติรำชกำร ประจ ำปีงบประมำณ พ.ศ. 2557. ปทุมธาน:ี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรางคณา หอมจันทร์. 2542. ผลของโปรแกรมกำรเรียนกำรสอนผ่ำนเว็บแบบเปิดและแบบปิดและระดบัผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทำงกำรเรียนวิชำภำษำอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษำปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโสตทัศนศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Page 67: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 62 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

วิจารณ์ พานิช. ม.ป.ป. กระบวนทัศน์ใหม่ทำงกำรศึกษำ: กรณีทัศนะต่อกำรศึกษำศตวรรษที ่21. (ฉบับร่าง). อัดส าเนา.

ศรีศักดิ์ จามรมาน. ม.ป.ป. ร่ำง อีเลิร์นิ่ง เอ็มเลิร์นนิ่ง และยูเลิร์นนิ่ง. (อัดส าเนา)

ศิริชัย นามบุร.ี 2556. ยูบิควิตัส เลิร์นนิ่ง (Ubiquituos Learing: u-Learning) กำรเรียนรู้ทุกแห่งหนในยุคเว็บ 3.0. (Online). http://ict- bl.blogspot.com/2013/08/ ubiquituos-learing-u-learning-30.html. 22 กันยายน 2556.

สรรรัชต์ ห่อไพศาล. 2544. “นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในสหัสวรรษใหม่กรณีการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ”. ศรีปทุมปริทัศน์. 1 (2) 93-104.

ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. 2552. โครงกำรผลิตต ำรำและสื่ออิเล็กทรอนิกส์. รำยงำนผลกำรด ำเนินโครงกำร. (อัดส าเนา)

ส านกัวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ งานพัฒนาสื่อการเรียนรู้. 2553. รำยงำนรำยไตรมำสที่ 1 ภำคกำรศึกษำที่ 1 (มิถุนำยน –สิงหำคม 2553).

ส านักส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. 2557. ทักษะแห่งอนำคตใหม่ : กำรเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (Online). http://www.qlf.or.th/Home/Contents/930. 20 มกราคม 2558.

Page 68: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี Page 63

Brian Solis and Johan Ronnestam. 2011. Ideas with Wheels: Opening new doors with Johan Ronnestam. Online, http://ideaswithwheels.blogspot.com/2011/04/opening-new-doors-with-johan-ronnestam.html. 25 กันยายน 2556.

Bruce, B. C. 2003. Literacy in the Information Age: Inquiries into Meaning Making with New Technologies. Department, International Reading Association, Newark, DE.

Burbules, N. C. "Ubiquitous learning and the future of teaching." Encounters on Education 13 (2012): 3-14.

Cheng, Z., Shengguo, S., Kansen, M., Huang, T., & Aiguo, H. 2005. “A Personalized Ubiquitous Education Support Environment by Comparing Learning Instructional”. Paper presented at the 19th International Conference on Advanced Information Networking and Applications, March, 28-30, 2005, Tamkang University, Taiwan.

Soward, S.W. 1997. “Save the Time of the Surface Evaluating Web Site for Users”. Library Hi Teah. 15(3-4) 155-158

Watson, C. E., and J. T. Ogle. 2013. "The Pedagogy of Things: Emerging Models of Experiential Learning." Bulletin of the IEEE Technical Committee on Learning Technology 15 (1) 3.

Page 69: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Page 64 เส้นทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุร ี

ประวัติผู้เขียน

ชื่อ – สกุล นางสุจิตรา ยอดเสน่หา ภูมิล าเนา 115 ถ. ประเวศเหนอื อ าเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร ประวัติการศึกษา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีการศึกษา)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ์ต าแหน่ง นักวิชาการศึกษา ช านาญการ สถานที่ท างาน ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ต าบลคลองหก อ าเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

โทรศัพท์ที่ท างาน 0-2549-3663 โทรศัพท์ที่บ้าน 0-2549-3960 ที่อยู่ปัจจุบัน 39/81 ถ.ทางหลวงระยอง 3191 ต าบลมาบข่า

อ าเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง Email: [email protected] และ

[email protected]

Page 70: ค ำน ำ - Rajamangala University of Technology ... · เกตุทับทิม คุณขัตติยาพร ลพสุนทร คุณสาลิตา

Recommended